กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสมรรถนะสูงในยุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสมรรถนะสูงในยุคดิจิทัล เนื่องจากกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาคนในทุกมิติและทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่งและมีคุณภาพ สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษามีแนวทางการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการ สมรรถนะและคุณลักษณะที่ดีสมวัยทุกด้านซึ่งเชื่อมโยงกับมนุษย์และสังคมที่มีการปฏิรูปการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 และการเป็นไทยแลนด์ 4.0 ปรับบทบาทครูให้เป็นครูยุคใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการศึกษาในทุกระดับ และสร้างระบบการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการระดับนานาชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 ระบุว่าบุคลากรที่มีสมรรถนะสูงต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ศักยภาพในการปฏิบัติงาน และพร้อมรับความท้าทายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ดังนั้นจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสมรรถนะสูงในยุคดิจิทัล ได้แก่ การพัฒนาระบบสารสนเทศในการวิเคราะห์และจัดการความรู้ การส่งเสริมความก้าวหน้าและการพัฒนาวิชาชีพครู และการส่งเสริมบุคคลภายนอกมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2567). ประกาศ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ 2567. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2567). จาก https://www.bic.moe.go.th/index.php/about-us/policy-menu/2023-06-27-04-27-46
เคน บลังชาร์ด. (2550). ผู้นำเหนือระดับด้วยวิสัยทัศน์เหนืออนาคต, แปลจาก Leading at a Higher Level. แปลโดย ตวงทอง สรประเสริฐ. กรุงเทพฯ: ดีเอ็มจี.
จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์. (2564). บทบาทของผู้บริหารการศึกษายุคดิจิทัล. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2567). จาก https://adacstou.wixsite.com/adacstou/single-post/
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2551). ทฤษฎีองค์กรสมัยใหม่ 2551. กรุงเทพฯ: ดี เคปริ้นติ้งเวิลด์.
พรรณี สวนเพลง. (2555). ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2562. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2567). จาก https://www.obec.go.th.
สิริกานต์ เอื้อธารากุล, ปพนสรรค์ โพธิพิทักษ์ และสุพัฒนา หอมบุปผา. (2566). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(2), 543-558.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนิวัช แก้วจำนงค์. (2551). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: นำศิลป์โฆษณา.
Buytendijk, F. (2006). The five keys to building a high-performance organization. Business Performance Management Magazine, 4(1), 24-47.
Carew, D., Kandarian, F., Parisi-Carew, E., Stoner, J., & Blanchard, K. (2010). Leading at a higher level. NJ: FT Press.
Thompson, J. L. & Martin, F. (2010). Strategic Management Awareness & Change. Andover: South-Western Cengage Learning.