แนวทางการบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของยุคปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence Era)

Main Article Content

ปาณิศา ปาระมี
ประเวศ เวชชะ
ไพรภ รัตนชูวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของยุคปัญญาประดิษฐ์ วิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-based participatory research : CBPR) ผู้วิจัยได้ออกแบบการวิจัยโดยใช้ 1) การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ออกแบบการวิจัยโดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานประเภทลำดับต่อเนื่องเชิงอธิบาย (Explanatory sequential) 2) เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (Appreciation-Influence Control : AIC) ผลการศึกษา พบว่า แนวทางการบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของยุคปัญญาประดิษฐ์ ต้องมีการประเมินสภาวการณ์ การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ประเด็นยุทธศาสตร์ การกำหนดแผนงานโครงการ และการกำหนดแผนที่ยุทธศาสตร์ ซึ่งได้กำหนดแผนที่ยุทธศาสตร์ตามแนวตามทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) ทั้ง 4 มิติ ภายใต้ทฤษฎีการบริหาร Balance Scorecard (BSC) มิติที่ 1 ด้านประสิทธิผล มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการ มิติที่ 3 ด้านประสิทธิภาพกระบวนการ มิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์กรและบุคลากร มิติทั้ง 4 มิติแสดงถึงความเชื่อมโยงนำไปสู่ความสำเร็จ การบรรลุเป้าประสงค์ และการบรรลุวิสัยทัศน์ของการบริหารจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของยุคปัญญาประดิษฐ์  (Artificial intelligence Era)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2556. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ประเวศ เวชชะ. (2565). การวิจัยแบบผสมผสานประเภทลำดับต่อเนื่องเชิงอธิบาย. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ไพรภ รัตนชูวงศ์. แนวทางการบริหารจัดการชั้นเรียนในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 4.0 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 7(27), 232-241.

โรงเรียนบ้านป่าแฝ-หนองอ้อ-สันทรายมูล. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ประจำปีการศึกษา 2565. เชียงราย: โรงเรียนบ้านป่าแฝ-หนองอ้อ-สันทรายมูล

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุดาพร ปัญญาพฤกษ์. (2562). การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 34(2) 31-40.

สมศักดิ์ พักวัน. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต . ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น .

Chat GPT. (2566). การศึกษาไทย 4.0 สู่การเปลี่ยนแปลงในยุคปัญญาประดิษฐ์. https://shorturl.asia/3HdoD

Clark D. & Waters D. (2019). The impact of artificial intelligence in education: A systematic review. International Journal of Education and Technology, 33-49.

Covey S. R. (2020). The 7 habits of highly effective people. Simon & Schuster.

Hilary Nixon. (2023). Artificial Intelligence: A History and Future . Beyond Publishing.

Smith J, A. (2020). Proactive Management Strategies for the Modern Workplace. Springer Nature.