กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา

Main Article Content

สุพัตรา นามขาว
บรรจบ บุญจันทร์
อริสา นพคุณ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ทั้งนี้เนื่องจากองค์กรทางการศึกษาเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญต่อชาติ เพราะการศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติ  ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นแรงผลักดันให้เกิดการปรับตัวและนำมาซึ่งเทคโนโลยีและนวัตกรรมรูปแบบการศึกษาใหม่ ๆ สมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาจึงเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรทางการศึกษาอันจะส่งผลให้นักเรียนมีความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ มุ่งอนาคต เน้นความร่วมมือ มีความสอดคล้องกับบริบท ปฏิบัติได้ และรับผิดชอบต่อสังคม สมรรถนะดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว องค์ประกอบของสมรรถนะดิจิทัล มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ความสามารถในการรู้ดิจิทัล การรู้ดิจิทัลอย่างมีวิจารณญาณ ความคล่องแคล่วทางดิจิทัล การผลิตสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล และจรรยาบรรณทางดิจิทัล กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) การส่งเสริมการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อนำมาพัฒนาสถานศึกษา 2) การพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและการแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ 3) การสร้างการยอมรับเทคโนโลยี นวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง และ 4) การพัฒนาศักยภาพทางด้านการบริหารและจัดสภาพแวดล้อมสถานศึกษาด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กณิชชา ศิริศักดิ์. (2559). การวิจัยหลักสูตรวิชาชีพครูเพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อ เศรษฐกิจและสังคม. ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2567). จาก https://onde.go.th/view/

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ. 2562–2565 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี: สำนักพิมพ์ศิริธรรมออฟเซ็ท.

ถวิล อรัญเวศ, ศิริ เจริญวัย, สงวนพงศ์ ชวนชม และกรองทิพย์ นาควิเชตร. (2559). การพัฒนากลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัด นครราชสีมา. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(1), 161-170.

น้ำอ้อย สุขเสนา, สุกัญญา แช่มช้อย และพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2566). ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารคุณภาพหลักสูตรของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏตามแนวคิดทักษะการค้นหานวัตกรรม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(1), 156-166.

นิรภัย จันทร์สวัสดิ์. (2551). การบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สูตรไพศาล.

บรรจง ลาวะลี. (2560). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคไร้พรมแดน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 6(2), 206-215.

ปราโมทย์ ถ่างกระโทก. (2561). การศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะดิจิทัลของพยาบาลวิชาชีพไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พัชรินทร์ ชัยจันทร์ และรัชนิวรรณ อนุตระกูลชัย. (2562). กลยุทธ์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(8), 3901-3916.

พิเจตส์ ประยุทธสินธุ์, อรุณ จุติผล และสมาน อัศวภูมิ. (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี, 15(1), 121-130.

มานะ ครุธาโรจน์. (2563). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานยุคการศึกษา 4.0. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(9), 351-369.

วิวรรณ ทองผิวทน, ธีระ รุญเจริญ และกิตติ วงษ์ชวลิตกุล. (2561). การศึกษาความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 12(1), 214-227.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน: คู่มือสมรรถนะหลัก. นนทบุรี: บริษัทประชุมช่าง จํากัด.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2567). จาก https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52232/-edu-teaartedu-teaart-teaartdir.

Al-Mahdy, Y. F., Al-Harthi, A. S., & Salah El-Din, N. S. (2016). Perceptions of school principals’ servant leadership and their teachers’ job satisfaction in Oman. Leadership and Policy in Schools, 15(4), 543-566.

Araújo da Silva, K.K., Behar, P.A., Romeu Fontanillas, T. & Guitert Catasús, M. (2019). Digital competences model for distance learning students: MCompDIGEAD. In J. Theo Bastiaens (Ed.), Proceedings of EdMedia + Innovate Learning (pp. 1708-1717). Amsterdam, Netherlands: Association for the Advancement of Computing in Education (AACE). (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2567). จาก https://www.learntechlib.org/primary/p/210195/.

Bottoms, G., & Fry, B. (2009). The district leadership challenge: Empowering principals to improve teaching and learning. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2567). จาก https://www.wallace foundation.org /knowledge-center/school-leadership/district-policy-and-practice /Documents/District-Leadership-Challenge-Empowering-Principals

Caldwell, B. J., & Spinks, J. M. (2005). The self-managing schools. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 27กุมภาพันธ์ 2567). จาก https://www.researchgate.net/publication/333042593

Chen, M. Y. C., Lin, C. Y. Y., Lin, H. E., & McDonough, E. F. (2012). Does transformational leadership facilitate technological innovation? The moderating roles of innovative culture and incentive compensation. Asia Pacific Journal of Management, 29, 239-264.

Daresh, J. C. (2002). What it means to be a principal: Your guide to leadership. Thousand Oaks, CA: Corwin Press, Inc.

Driscoll, M. (2018). Creating new schools in the 21st century that inspire, motivate and empower a whole new generation of learners and global citizens. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2567). จาก https://digitalcommons.fiu.ed/cgi/viewcontent.cgi?article

Gorton, R. A. (1983). School administration and supervision. Dubuque, IA: William C. Brown.

Juhász, T., Kálmán, B., Tóth, A., & Horváth, A. (2022). Digital competence development in a few countries of the European Union. Management & Marketing: Challenges for the Knowledge Society, 17(2), 178-192.

Lyons, B. J. (2010). Principal instructional leadership behavior, as perceived by teachers and principals, at New York State recognized and non-recognized middle schools. South Orange, NJ: Seton Hall University.

Meador, D. (2017). The role of the principal in schools. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2567). จากhttps://www.academia.edu/35820393/The_Role_of_the_Principal_in_Schools_by_Derrick_Meador_Updated

Rooney, E. (2015). Teachers' work in trying times: Policy, practice, and professional identity. Doctoral Dissertation, Temple University.

Whitaker, S. D. (2003). Needs of beginning special education teachers: Implications for teacher education. Teacher Education and Special Education, 26(2), 106-117.