ความต้องการจำเป็นและแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2

Main Article Content

นภัสมน สุขจร
สุมัทนา หาญสุริย์
ฤทัยทรัพย์ ดอกคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบสภาพที่เป็นจริง สภาพที่พึงประสงค์ความต้องการจำเป็น และแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 366 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามสภาพที่เป็นจริง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .988 และแบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .990 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการหาค่าความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สภาพที่เป็นจริง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่า สภาพที่เป็นจริง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม เรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการบริหารความเสี่ยง ด้านการมีวิสัยทัศน์สู่การเปลี่ยนแปลง ด้านการสร้างบรรยากาศองค์กรนวัตกรรม ด้านการมีส่วนร่วมและทำงานเป็นทีม และด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ 4) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมจากการศึกษาโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศ (Best Practice) ด้านการบริหารจัดการนวัตกรรม จนประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ พบว่าควรพัฒนาทั้ง 5 ด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกอร สมปราชญ์. (2562). ภาวะผู้นำกับคุณภาพสถานศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ. 2564–2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ไชยา ภาวะบุตร, สุรัตน์ ดวงชาทม และ รัชพล จอมไตรคุป. (2561). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 6(23), 1-6.

ณัฏฐชนุตตร โคตรคำหาร. (2566). ลักษณะเด่นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนด้านนวัตกรรม. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม. 15 ธันวาคม 2566.

ณัฐกานต์ ภูมิคอนสาร. (2564). ทักษะความคิดสร้างสรรค์ที่หล่นหายไปของผู้เรียนกับการศึกษาในศตวรรษ ที่ 21. Education journal มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 5(1), 1-9.

ณิชาภา สุนทรไชย. (2561). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนใน จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณิชาวรณัฐ ซองดี. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนใน อำเภอวังเหนือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

ธีระพงษ์ แก้วฝ่าย. (2566). การบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนบ้านนาฮี สังกัด สพป.สกลนคร เขต 3. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม. 17 พฤศจิกายน 2566.

นิตยา รอดเข็ม. (2566). ลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ดีในยุคปัจจุบัน. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม. 8 ธันวาคม 2566.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปาริฉัตร นวนทอง. (2565). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

พอรุ้ง แสงนวล. (2563). การบริหารความเสี่ยงกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ ค.ม.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เพ็ญนภา แสงแก้ว. (2565). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเครือข่าย สถานศึกษาเถิน 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

แพรพรรณ เหลาธนู. (2566). การต่อยอดนวัตกรรม. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม. 8 ธันวาคม 2566.

ภาคิน เกษณา. (2564). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทาง การศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

วัชรพงศ์ ทัศนบรรจง. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา ในโครงการโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สนธยา หลักทอง. (2564). คู่มือการนิเทศการศึกษา เพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนตามโครงการ โรงเรียน คุณภาพ (SPARE Model). สกลนคร: กลุ่มนิเทศ ติดตามฯ สพป.สกลนคร เขต 2.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566. สกลนคร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม. (2564). ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สินีนาฏ ใสแจ่ม. (2563). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1. วารสารมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 22(1), 79-91.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2555). แนวคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับการบริหารสถานศึกษาใน ศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(2), 117-128.

สุวัตน์ อาษาสิงห์, จำรัส มุ่งเฝ้ากลาง, สุนทร โคตรบรรเทา และสมเดช สาวันดี. (2566). ภาวะผู้นำเชิง นวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(6), 447-458.

สุวิมล ตันสิงห์. (2564). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

อนุสรา สุวรรณวงศ์. (2559). คุณลักษณะของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในบริบทการศึกษาไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(1), 163-175.

อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์. (2553). การพัฒนาตัวแบบผู้นำเชิงนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อาริยา เจ๊ะยะหลี. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. สุโขทัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Couros, G. (2019). Innovative leadership in education [online]. Retrieved from https://georgecouros.ca/blog/ innovative-leadership-in-education. Jan 〖"10" 〗^"th" , 2024.

Horth, D. (2020). Innovation Leadership How to use innovation to lead effectively, work collaboratively, and drive results. USA: Center for Creative Leadership.