แรงจูงใจที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต

Main Article Content

กุลธิดา วาหะ
สุดาพร ทองสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ศึกษาสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงาน และศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษา ประชากร คือ บุคลากรทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต จำนวน 938 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 273 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามขนาดของสถานศึกษา และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีการจับสลากแบบไม่ใส่คืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการคิดวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจในการในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านลักษณะงาน  ด้านการยอมรับนับถือ และด้านความก้าวหน้าในตำแหน่ง ตามลำดับ ระดับสรรถนะในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู ทีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการบริการที่ดีด้านการพัฒนาตนเอง และด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ สำหรับแรงจูงใจที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงาน พบว่า ด้านความรับผิดชอบ ด้านความสำเร็จในการทำงานด้านการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะงาน ส่งผลต่อสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงาน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ .073 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สุดาพร ทองสวัสดิ์, คณะศึกษาศาสตร์และศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

 

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภา ลาดพร้าว.

กิตติพันธ์ คำบาลและคณะ. (2563). สมรรถนะของครู โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วารสารการบริหารการศึกษา.

กอบกุล ต๊ะปะแสง. (2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี. คณะบริหารธุรกิจ สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จันทรานี สงวนนาม. (2542). ทฤษฎีแนวปฏิบัติการบริหารสถานศึกษา.กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.

จุฑารัตน์ ทวนทอง. (2561). การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. สารนิพนธ์ คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยสาส์น.

วชิรนาท ดอนแก้ว. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเครือข่ายขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

วรรณา อาวรณ์. (2557). แรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการรัฐสภาระดับปฏิบัติงาน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตคณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

เสน่ห์ จุ้ยโต. (2545). องค์การสมัยใหม่ : ตัวแบบ 5 เอส. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 4(2), 67-80

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต (2564). รายงานผลการดำเนินการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ปีการศึกษา 2564. ภูเก็ต: กลุ่มนิเทศติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง)สำนักงานพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

เอนก อมราพิทักษ์ และวุฒิชัย เนียมเทศ. (2564). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อสมรรถนะประจำสายงานของข้าราชการครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ศึกษาศาสตร์วิจัย คณะศึกษาศาสตร์ ครั้งที่ 6; 18-19 กรกฎาคม 2562; หาดใหญ่: สงขลา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Herberg. (1959). The motivation to work. New York: John Willey & Sons.