สภาพและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย

Main Article Content

ธนากร ชมภูเครือ
ทัศนะ  ศรีปัตตา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาสภาพภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัยและ 2.แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย โดยวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย โดยใช้แบบสอบถามสภาพภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 285 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ข้อมูลได้จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า  1) สภาพภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ทั้ง 5 ด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ รองลงมา คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการมีจินตนาการ 2) ผลการศึกษาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย พบว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ควรพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยให้ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถแสดงภาพในอนาคตที่ดีต่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ต้องรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างของบุคคลต่าง ๆ ด้วยความเคารพ ต้องประยุกต์ใช้ความรู้จากประสบการณ์เดิมมาคิดใหม่เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อโรงเรียน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นจนงานสำเร็จตามเป้าหมายและส่งเสริมการเรียนรู้ของครูภายในทีม ต้องสร้างความเชื่อมั่น ความศรัทธาโดยใช้จินตนาการโดยการออกมาเป็นวิสัยทัศน์ และมีความเป็นกันเองกับบุคลากร

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ทัศนะ  ศรีปัตตา, อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

 

 

References

กิตติกาญจน์ ปฏิพัทธ์, จักรกฤษณ์ โพดาพล และวิลัยพรณ์ เสรีวัฒน์ . (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์: สิ่งที่ควรค่าสำหรับทุกคนในอนาคต. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จุฑามาส ซุ่นห้วน. (2562). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการตัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาตามความคิดเห็นครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ชัยเสฏฐ์ พรหม.(2561). ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารองค์การ :แนวคิด ทฤษฎีและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.

ภรณ์ทิพย์ ปั้นก้อง. (2559). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ละเอียด เอี่ยมศรี (2564). “ผู้บริหารเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ” ใน การศึกษาเชิงผลิตภาพ: การเรียนการสอนเพื่อสร้างผลผลิตและนวัตกรรม. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันเพ็ญ แก้วปาน. (2561). ภาวะผู้นำ: หลักการและการประยุกต์ในการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน.กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

สใบแพร สัพโส. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

สถิรพร เชาวน์ชัย. (2561). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา เอกสารประกอบการสอนวิชา 354517 การวิจัยทางการบริหารการศึกษา. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุภาพ ฤทธิ์บำรุง. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Bennis. (2002). Transformational, Transactional Leadership Styles and Job Performance of Academic Leaders. International Education Studies, 6(11), 29-34.