แนวทางพัฒนาการสร้างเสริมองค์กรแห่งความสุขในความปรกติใหม่ของสถานศึกษา อำเภอคลองขลุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2

Main Article Content

นารีรัตน์ อัจฉริยะมณีกุล
ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหา เปรียบเทียบสภาพการสร้างเสริมองค์กรแห่งความสุขในความปรกติใหม่ และหาแนวทางพัฒนาการสร้างเสริมองค์กรแห่งความสุขในความปรกติใหม่ของสถานศึกษา อำเภอคลองขลุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและข้าราชการครู จำนวน 198 คน โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเคร็จซี่และมอร์แกน และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 17 คน โดยใช้เทคนิคเดลฟาย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการสร้างเสริมองค์กรแห่งความสุขในความปรกติใหม่ของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านใฝ่รู้ดีและด้านจิตวิญญาณดี และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านร่างกายดี และปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ไม่มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว (2) การเปรียบเทียบสภาพการสร้างเสริมองค์กรแห่งความสุขในความปรกติใหม่ของสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงานและจำแนกตามขนาดโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน (3) แนวทางพัฒนาการสร้างเสริมองค์กรแห่งความสุขในความปรกติใหม่ของสถานศึกษา พบว่า 1) ควรเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนในองค์กร 2) ควรชื่นชมและให้กำลังใจในผลงานการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ 3) ควรเป็นผู้ประสานงานดีในการขอความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ 4) ควรจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี 5) ควรให้คำปรึกษากับบุคลากรได้ในทุกด้าน 6) ควรสร้างความตระหนักในการประหยัดอดออมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 7) ควรส่งเสริมให้มีการผ่อนคลายในการทำงาน 8) ควรเป็นแบบอย่างในการคิดเชิงบวกและการปฏิสัมพันธ์ที่ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กอปรลาภ อภัยภักดิ์. (2563, มกราคม-มิถุนายน). บรรยากาศองค์กรแห่งความสุข: คนเบิกบาน งานสำเร็จ. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 315-331.

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2, สำนักงาน. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. กำแพงเพชร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร

เขต 2.

จิระภา สมัครพงษ์. (2563). องค์กรแห่งความสุข ในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ธัญลักษณ์ ลือยศ. (2564, ธันวาคม). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากําแพงเพชร เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(12), 138-151.

พัตร์นิวรรณ ศิริภูมิ และชนมณี ศิลานุกิจ. (2567, มกราคม-มีนาคม). องค์กรแห่งความสุขในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพตะวันออก. วารสารนิติรัฐ, 2(1), 36-47.

พิกุล พุ่มช้าง และปริญญา มีสุข. (2560, พฤษภาคม-สิงหาคม). การวิเคราะห์องค์ประกอบการเป็นองค์กรแห่งความสุขของสถาบันการศึกษาไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 647-663.

วรัญญา เศษตะสัตย์ และวัลลภา เฉลิมวงศาเวช. (2566, กรกฎาคม-กันยายน). แนวทางการพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งความสุขของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 23(3), 1-16.

ศราวุฒิ อินดา และวันทนา อมตาริยกุล. (2565, มกราคม-มิถุนายน). แนวทางการพัฒนาสู่องค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดหนองคาย. วารสารปัญญาปณิธาน, 7(1), 83-96.

สุพรรณศรี พันธุ์แตง และคนอื่นๆ. (2565, กรกฎาคม-ธันวาคม). ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการสร้างองค์กรแห่งความสุขในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 10(2), 33-47.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970, December). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.