แนวทางพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในสถานการณ์การเปลี่ยน ฉับพลัน (Disruption) ของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2

Main Article Content

อลิสา มะริด
ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เปรียบเทียบสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และหาแนวทางพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียน
เป็นฐาน ในสถานการณ์การเปลี่ยนฉับพลัน (Disruption) ของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 38 คน และข้าราชการครู จำนวน 216 คน รวมทั้งสิ้น 254 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางของเคร็จซี่และ
มอร์แกน และการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน เครื่องมือ
ที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการหาค่าความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพการบริหารโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และปัญหาที่พบมากที่สุดคือ ขาดนวัตกรรมในการบริหารการแก้ปัญหาในด้านการจัดการเรียนการสอน (2) การเปรียบเทียบสภาพการบริหาร จำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (3) แนวทางพัฒนา พบว่า 1) ผู้บริหารควรมีการวิเคราะห์ความรู้ ความสามารถของแต่ละคน เพื่อมอบหมายงานตามความเหมาะสม 2) สถานศึกษาควรจัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองอย่างน้อยปีการศึกษาละ 2 ครั้ง 3) ผู้บริหารควรมีการประสานขอความร่วมมือจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดนโยบายและจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา 4) ผู้บริหารและครูควรหมั่นรับการอบรมพัฒนาตนเอง แสวงหาความรู้ใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ ติดตามข่าวสารของทางราชการให้เป็นปัจจุบัน เพื่อให้ทราบการดำเนินงานที่ทันสมัย และกล้าที่จะทดลองใช้กระบวนการใหม่ๆ 5) สถานศึกษาควรมีการตรวจสอบ โดยให้คณะกรรมการร่วมประชุมกับคณะครู เพื่อสรุปข้อดี ข้อด้อยที่ควรพัฒนา

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

 

 

References

กิริญณภา หนูอินทร์. (2562). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(4), 33-39.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564. กำแพงเพชร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2.

เพชรัตน์ สีหาทัพ. (2561). การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. 124(147), 23-24.

วรวัฒน์ ใยระย้า และวิวัฒน์ ตู้จำนงค์. (2565, มกราคม-มิถุนายน). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา. Education Journal of Nakhonratchasima College, 1(1), 57-66.

วัชราภรณ์ บุญฟัก. (2561). ปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

วาสนา สีแดง. (2562, กันยายน-ธันวาคม). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนห้วยกระเจาพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 4(3), 357-372.

วิชิต อ่อนจันทร์ และภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2564, มกราคม-มิถุนายน). แนวทางการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) ในกลุ่มคลองน้ำไหล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 10(1), 100-108.

สุภัทรศักดิ์ คำสามารถ และคนอื่นๆ. (2563, กันยายน-ธันวาคม). นวัตกรรมการจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อสังคมในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 246.