ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ตามทฤษฎีมนุษย์นิยมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้านการคิดคล่องของนักศึกษาครุศาสตร์ที่เรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต

Main Article Content

สุวิมล นาเพีย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุงหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ตามทฤษฎีมนุษย์นิยมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้านการคิดคล่องของนักศึกษาครุศาสตร์ ที่เรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ ด้านการคิดคล่องของนักศึกษาครุศาสตร์ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนหลังการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาครุศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ที่กำลังศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ด้านการคิดคล่อง    และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ตามทฤษฎีมนุษย์นิยมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาครุศาสตร์ ที่เรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมสําหรับการนําไปใชประกอบดวย 6 ขั้นตอน ไดแก ขั้นที่ 1 การบริหารสมอง ขั้นที่ 2 การกระตุ้นการเรียนรู้ ขั้นที่ 3 การสำรวจและค้นหา ขั้นที่ 4 สร้างสรรค์ผลงาน ขั้นที่ 5 การนำเสนอผลงาน และ ขั้นที่ 6 การประเมินผล ผลการวิเคราะห์ค่าคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์ ด้านการคิดคล่อง พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ตามทฤษฎีมนุษย์นิยมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่เรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต สูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งพบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังการเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการวิเคราะห์ค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร,33(2), 49-56.

วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์.2nd ed. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ มูลคํา. (2550). กลยุทธ์การสอนคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2544). เทคนิคการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

อารี รังสินันท์. (2523). รายงานการวิจัย เรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการ ฝึกหัดครู.

อารี รังสินันท์. (2538). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: เจริญรัฐการพิมพ์.

ดุษฏี บริพัตร ณ อยุธยา.(2549) การเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: รักลูกแฟมิลี่กรุ๊ป.

บุญโต ศรีจันทร์ สุธนะ ติงศภัทิย์ และบัญชา ชลาภิรมย์. (2565). การพัฒนาทักษะกีฬาฟุตบอลและความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนประถมศึกษาโดยใช้การเรียนรู้โดยสมองเป็นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. 14(3). 201-212.

บุศรา จิตวรรณ. (2552). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปิยพัทธ์ แหกาวี และ ดวงหทัย กาศวิบูลย์. (2563). ความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 12(2), 426-441.

ภาวิณี รัตนคอน และ ปัทมาภรณ์ แก้วคงคา. (2564). การศึกษาความคิดสร้างสรรค์จากการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับอินโฟกราฟิกของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 13(2), 67-83.

วิบูลย์ วิรัชนีกรพันธ์. (2546).บริหารสมองBrain Gym .กรุงเทพฯ: ขวัญข้าว.

เอกภูมิ จันทรขันตี. (2561). การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(1). 205-217.

Ayua, GG. H., Ogah, A., Ikyernum, G. S. & Awen, D. A. (2024). Effect of Collaborative Improvisation on Creative-Thinking Fluency in Basic Science among Upper Basic Students in Makurdi, Benue State. Zamfara International Journal of Education, 3(6), 117–124. https://doi.org/10.5281/zenodo.10676268

Baas, M., De Dreu, C. K., & Nijstad, B. A. (2008). A meta-analysis of 25 years of mood-creativity research: Hedonic tone, activation, or regulatory focus?. Psychological Bulletin, 134(6), 779–806.

Chua, Y. L., Balakrishnan, B., Choong, P. Y., & Koh, Y. Y. (2020). Effectiveness of creative thinking module on figural creativity of engineering undergraduate in Malaysia. International Journal of Higher Education, 9(4). 233-243.

Duarte, N. (2008). Slide:ology: The art and science of creating great presentations. O'Reilly Media, Inc.

Hennessey, B. A., & Amabile, T. M. (2010). Creativity. Annual Review of Psychology, 61, 569–598.

Johnson, D. W., Johnson, R. T., & Smith, K. A. (2014). Cooperative learning: Improving university instruction by basing practice on validated theory. Journal on Excellence in College Teaching, 25(3&4), 85-118.

Kim, K. H. (2011). The creativity crisis: The decrease in creative thinking scores on the Torrance Tests of Creative Thinking. Creativity Research Journal, 23(4), 285-295.

Ministry of Education. (2017). Early Childhood Education Program 2017, Bangkok: Office of Academic and Educational Standards

Osborn, A.F. (1957). Applied Imagination. New York. : Scribner.

Roffey, S. (2012). Pupil wellbeing – teacher wellbeing: Two sides of the same coin?. Educational & Child Psychology, 29(4), 8-17.

Runco, M. A., & Jaeger, G. J. (2012). The standard definition of creativity. Creativity Research Journal, 24(1), 92-96.

Sawyer, R. K. (2012). Explaining creativity: The science of human innovation. Oxford University Press.

Torrance, E. P. (1962). Guiding Creative Talent. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall, Inc.

Torrance, E. P. (1965). Rewarding creative behavior: Experiments in classroom creativity. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall Inc.

Williams, F. E. (1970). Classroom ideas for encouraging thinking and feeling. New York: D.O.K.