แนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 7 จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และหาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 7 จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน รวมทั้งสิ้น 210 คน ซึ่งได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเคร็จซี่และมอร์แกน และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน โดยใช้เทคนิคเดลฟาย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา (2) ปัญหาการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่พบมากที่สุด คือ สถานศึกษาไม่มีกรอบหรือเครื่องมือในการประเมินตนเองอย่างชัดเจนเป็นของตนเองในการติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสถานศึกษา (3) แนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พบว่า 1) ควรมีการวิเคราะห์บริบทของสถานศึกษาโดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมและหลากหลายช่องทาง 2) ควรชี้แจงเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดทำแผนปฏิบัติการหรือแผนงบประมาณของสถานศึกษาให้รับทราบอย่างทั่วถึง 3) ควรมีการกำหนดแผนงาน โครงการ ตัวชี้วัด ของกิจกรรมให้สอดคล้องกับประเด็นพิจารณาและมาตรฐานการศึกษาที่สถานศึกษากำหนดและประกาศใช้ 4) ควรเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการพัฒนามาตรฐานการศึกษาและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา 5) ควรกำหนดมาตรการการติดตามผลการดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ชัดเจน 6) ควรมีการรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาให้หน่วยงานต้นสังกัดและสาธารณชนรับทราบอย่างทั่วถึงและหลากหลายช่องทาง
Article Details
References
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2561). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: เอ็น.เอ.
รัตนะเทรดดิ้ง.
ชุษณะ พูลสมบัติ. (2565). ปัญหาการพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
พระมหากิตติศักดิ์ สิริวฑฺฒโก (หนูสุรา). (2562). การพัฒนากระบวนการการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา
มหาจุฬาขอนแก่น, 6(3), 380-381.
มยุรี วรวรรณ. (2563). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยม
วัดหนองแขม. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มาหะมะบาคอรี มาซอ. (2564). การบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
รัตนา ศุภปริญญา และพศิน แตงจวง. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนบ้านห้วยยา อำเภอกัลยาณีวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 8(1), 84-91.
ว่าที่ร้อยตรีรัฐพงศ์ โยธารัตน์ และคณะ. (2566). แนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา อำเภอลาดยาวเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2 ตามหลักธรรมพละ 5.
วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 8(1), 167-168.
ศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดพิษณุโลก. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566. พิษณุโลก: ศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดพิษณุโลก.
สวัสดิ์ โคตรสมบัติ. (2560). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วารสารบัณฑิตศึกษา, 14(65), 155-164.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.