แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกหนองคาย

Main Article Content

วสันต์ พินิจมนตรี
วัลลภา อารีรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ความฉลาดทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย ใช้รูปแบบการวิจัยวิธีวิจัยแบบผสมผสานแบบแผนเชิงอธิบาย ระยะที่ 1 การศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย จำนวน 290 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น การวิจัยระยะที่ 2 การศึกษาเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และแบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันความฉลาดทางดิจิทัลของผู้บริหารศถานศึกษา ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความปลอดภัยและรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล และการรู้สิทธิในโลกดิจิทัล 2. สภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการรู้ดิจิทัล 3. ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ในภาพรวมพบว่า ค่า PNIModified อยู่ระหว่าง 0.086 ถึง 0.117 ลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ ด้านการรู้ดิจิทัล (PNIModified= 0.117) 4. แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา  (1) ด้านการรู้ดิจิทัล ผู้บริหารพัฒนาตนเองและครู ให้มีรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล กำหนดวิสัยทัศน์มุ่งการนำเทคโนโลยีดิจิทัล (2) ด้านการสื่อสารดิจิทัล พัฒนาความรู้และทักษะใหม่ ๆ ในการใช้เทคโนโลยีสื่อสารให้มีคุณภาพ และสร้างเครือข่ายกับผู้ปกครองและชุมชน พัฒนาแพลตฟอร์มการสื่อสารและโครงสร้างอินเตอร์เนตให้เกิดความเสถียรภาพ มั่นคง และปลอดภัย (3) ด้านอัตลักษณ์ในโลกดิจิทัล เลือกใช้แพลทฟอร์มเพื่อแสดงออกอัตลักษณ์ทางดิจิทัลของสถานศึกษา ครู และนักเรียนให้เหมาะสม จัดทำนโยบายและมาตรจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ เพื่อความปลอดภัย เป็นปัจจุบัน และเป็นระบบ (4) ด้านการรู้สิทธิ์บนโลกดิจิทัล และ ความปลอดภัยและรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล ผู้บริหารจัดทำคู่มือเสริมความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยและจริยธรรมในการใช้สื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ปลูกฝังเจตคติที่ดีในการใช้สิทธิในโลกดิจิทัล พัฒนาระบบฐานข้อมูล ระบบดิจิทัล ในการบริหารสถานศึกษาให้ใช้งานสะดวก และมีความปลอดภัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจริญ ภูวิจิตร์. (2560). การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 15 ตุลาคม 2566). จาก http://www.nidtep.go.th

ญาศินี เกิดผลเสริฐ. (2565). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ สู่พลเมืองดิจิทัล. : กรุุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.

ทินกร เผ่ากันทะ และกัลยารัตน์ เมธีวีรวงศ์. (2565). แนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 4(2), 1-10.

นุชจรี ลอยหา และคณะ. (2563). แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลบนฐานความคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 15(2), 413-416.

ปุณณิฐฐา มาเชค. (2562). การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพในยุค 4.0 (ศตวรรษที่ 21). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 32(3), 83–91.

แผนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน. (2564). แผนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับปรับปรุง). คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน.

พิธุวรรณ กิติคุณ. (2560). การปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 20 ตุลาคม 2566). จากhttps://www.parliament.go.th

ภัทรา จรรยาธรรม. (2564). การบริหารสถานศึกษาเอกชนในยุคดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ลัดสะหมี พอนไซ. (2565). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษามหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุภาภรณ์ เพ็งพุฒ และคณะ. (2565). การพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(38), 1-9.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปี 2566. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

อนันต์ วรธิติพงศ์. (2561). การศึกษารูปแบบดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 1200-1215.

อัจฉรา นิยมาภา และ วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี, (34), 1-12.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.