ภาวะผู้นำแบบประสานพลังของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำแบบประสานพลังของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำแบบประสานพลังของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสาเหตุ ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 302 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.932 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำแบบประสานพลังของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุดคือ ด้านการประสานความร่วมมือ 2) องค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุดคือ ด้านการมุ่งเน้นผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 3) ภาวะผู้นำแบบประสานพลังส่งผลต่อองค์กรสมรรถนะสูง ได้แก่ ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (X2) ด้านการพัฒนาวิชาชีพ (X5) ด้านการทำงานเป็นทีม (X3) ด้านการปรับตัว (X1) และด้านการประสานความร่วมมือ (X4) สามารถร่วมกันพยากรณ์องค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ได้ร้อยละ 75.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยแสดงสมการถดถอยในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Zy’ = 0.254(ZX2) + 0.233(ZX5) + 0.197(ZX3) + 0.165(ZX1) + 0.148(ZX4)
Article Details
References
ณัชญานุช สุดชาดี ถนอมวรรณ. (2561). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นาของผู้บริหารและพฤติกรรมองค์การที่ส่งผลต่อองค์การ สมรรถนะสูง : การวิเคราะห์อิทธิพลผ่านตัวแปรคั่นกลาง. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(2), 67-77.
พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2564). ผู้บริหารกับการทำงานเป็นทีม วารสาร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฏนครสวรรค์, 4(1),1-7.
วรพิชญ์ ลิขิตายน. (2560). การบริหารจัดการสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดสระบุรีให้เป็นองค์กรสมรรถนะสูง.วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1), 179-189.
วินุลาศ เจริญชัย. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์การสมรรถนะสูงเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการพัฒนาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. หนองคาย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สิทธิพล พหลทัพ. (2560). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำแบบประสานพลังของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(2), 139-148.
สุภาพร โสภิณ และทะนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ. (2564). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วารสารราชพฤกษ์, 19(1), 140-150.
อังค์วรา วงษ์รักษา. (2565). ปัจจัยความสำเร็จและผลลัพธ์ในการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของคุรุสภา. ววารสารปัญญาภิวัฒน์, 14(2), 245-258.
Blanchard (2007). Leading at a Higher Level: Blanchard on Leadership and Creating High Performing Organizations. United States: Prentice Hall.Canada: Nelson Education.
Ismail, A., Yasmeen, F.M. and Nayla, Y.A. (2007). Organization culture and knowledge sharing : critical success factors. Journal of KnowlegeManagement, 11(2), 22-42.
Lawler, E.E., Worley, C.G. and Creelman, D. (2011). Management reset : Organizing for sustainable effectiveness. San Francisco: Jossey – Bass.
Roy, Sr.C. (2009). The Roy adaptation model. 3rd ed. NJ: Pearson Upper Saddle River.
Sema Bungthong. (2022). Needs Assessment of the Cooperative Professional Development Supervision of Private Schools. NeuroQuantology, 20(16), 4955-4965.
Senge, P.M. (1990). The Fifth Disciplin : The art and practice of the learning organization. New York: Doubleday Currency.
Sentell, G.D. (1995). Fast Focused & Flexible : bold new imperatives for the high performance organization. 3" ed. [n.p.J: Tennessee Associates International.
Yang, M. (2007). Language learning strategies for junior college students in Taiwan: Investigating ethnicity and proficiency. EFL Asian Journal, 9(2), 35-57.