กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศในยุคดิจิทัลโรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญา ราชวิทยาลัย นครราชสีมา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา

Main Article Content

วัลลภา โพธิโต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการบริหารงานวิชาการ 2) สร้างกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ 3) ทดลองใช้กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ และ 4) ประเมินกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ ผู้ให้ข้อมูล ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน ครู จำนวน 115 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน นักเรียน จำนวน 334 คน เครื่องมือ 1) แบบสอบถาม 2) แบบบันทึก 3) แบบทดสอบ 4) แบบประเมินการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์เชิงเนื้อหา สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น ค่า t - test ผลการวิจัย 1) ข้อมูลพื้นฐานการบริหารงานวิชาการ ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการมุ่งเน้นนักเรียน ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง 2) ผลการสร้างกลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีส่งเสริมงานวิชาการ กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ กลยุทธ์การกระจายอำนาจ กลยุทธ์การมุ่งเน้นนักเรียนในยุคดิจิทัล และกลยุทธ์ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ 3) ผลการทดลองใช้กลยุทธ์ พบว่า ผลทดสอบความรู้ความเข้าใจ โดยรวม อยู่ในระดับสูงมาก หลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรม แตกต่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ.01 ผลประเมินโครงการตามกลยุทธ์ พบว่า มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับ มาก-มากที่สุด 4) ผลการประเมิน กลยุทธ์ พบว่าอยู่ในระดับมาก ผลประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ อยู่ในระดับมากที่สุด และผลประเมินความความพึงพอใจต่อกลยุทธ์ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรงศึกษาธิการ .(2551). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ www.bps.sueksa.go.th.

กรอบวิทย์ พิริยะวัฒน์. (2563). เอกสารประกอบการบรรยายหัวข้อการจัดทำวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศเบส Best practice. วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงเรียนสตรีวิทยา 2.

จันทรานี สงวนนาม. (2545). การบริหารหลักสูตรในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2557). ภาวะผู้นำร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

ฐิติพร หงษ์โต และสุวรรณ นาคพนม. (2560). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซี่ยน,” วารสารสารสนเทศ. 16 (1) : 244-245.

เพชริน สงค์ประเสริฐ. (2550). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ภวนันท์ชัย สวัสดิ์สละ. (2563). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 26. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภูมิภัทร กลางโคตร์และคณะ. (2561). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ แบบมืออาชีพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8 (2), พฤษภาคม - สิงหาคม 2561.

วัชราภรณ กลิ่นภู่ และคณะ. (2561). การสงเสรมการใชเทคโนโลยสารสนเทศเพื่อการบริหารงาน ของเทศบาลบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 4(1), 283.

วสันต์ นาวเหนียว. (2550). แนวทางการจัดการที่เป็นเลิศของโรงเรียนเร่งสู่ฝัน. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556) กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา : กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: หจก.ทิพยวิสุทธิ์.

โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย นครราชสีมา.(2565).รายงานการประเมินตนเองของโรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย นครราชสีมา พ.ศ. 2565.

สริศา ตาใส่. (2557). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาของกลุ่มโรงเรียนแม่จริม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต 1. การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนิสา วิทยานุกรณ์. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเอกชน. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมศักดิ์ คงเที่ยง. (2542). หลักการบริหารการศึกษา(Principles of Educational Administration). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2550). คู่มือปฏิบัติงานด้านการบริหารทั่วไป สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2561). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล.(School Management in Digital Era) โครงการสานพลังประชารัฐ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2543). การศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในรูปแบบการบริหารโรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: คุรุสภา ลาดพร้าว.

Adam S. Green and Others. (2008). An Exploration of High-Quality Student Affairs Learning Outcomes Assessment Practices. NASPA Journal. 45(1), 133-157.

Drucker, Peter F. (2003). Harvard Business Review on the Innovation Enterprise. Boston: Harvard Business School.

Mohd Faiz Mohd Yaakob. (2019). Strategic Management and Strategic Planning in School: Is IT Worth for Teachers. Academy of Strategic Management Journal, 18, 3.

Schilling, M. A., & Jones, G. R. (2017). Strategic management an integrated approach theory & cases. 12th ed.. Boston, MA: Cengage Learning.

Sergiovanni, T.J. & others. (1980). Educational Governance and Administration. N.J.: Prentice-Hall, Inc.,

Smith, P. C.; Kendall, L. M.; & Hulin, L. L. (1969). The Measurement of Satisfaction in Work and Retirement : A Strategy for the Study of Attitudes. Chicago: Rand Mc Neely.