รูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีการดำเนินการเป็นสามระยะ คือ การศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางในการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา การสร้างรูปแบบ และการประเมินรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างและกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูล 603 คน จาก 402 โรงเรียน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการศึกษาแนวทางพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา 9 คน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบรูปแบบ 10 คน และในการประเมินรูปแบบ 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อมูล แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินรูปแบบ สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า สาระสำคัญของ 5 องค์ประกอบของรูปแบบ ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) วิธีการดำเนินการของรูปแบบ ต้องคำนึง 3 หลักการ คือ หลักการพัฒนาครู หลักการรู้ดิจิทัล และหลักการบริหารในยุคดิจิทัล 4) การประเมินผลของรูปแบบโดยวัดผลที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของรูปแบบ และ5) เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ คือ การการดำเนินการตามรูปแบบ และการนำรูปแบบไปใช้
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). (ร่าง)แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา (พ.ศ.2563-2565). (ออนไลน์) (สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2567) จาก https://bict.moe.go.th/wp-content/uploads/2022/03/digital-63-65.pdf
จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2555). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ทวีพริ้นท์ (1991) จำกัด.
ธีระ รุญเจริญ. (2554). ผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ : ศักยภาพเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์.
นิตยา วงศ์ใหญ่. (2560). แนวทางการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของดิจิทัลเนทีฟ. Veridian E-Journal, Silpakorn University, ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 1630-1642
พิศุทธิภา เมธีกุล และวิชุดา กิจธรธรรม. (2559). ศึกษาการประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลและพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนของนักศึกษาวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 10
สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. (2553). การเปลี่ยนแปลงโลกของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาสู่ “ครูมืออาชีพ”ในสุดาพร ลักษณียนาวิน(บรรณาธิการ). 2553. การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607 – 610.
White, J. (2015). Digital Literacy Skills for FE Teachers. London: Learning Matters.