การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานแก่นักศึกษาผ่านการฟ้อนในประเพณีบุญบั้งไฟ บ้านห้วยขะยุง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของฟ้อนในประเพณีบุญบั้งไฟ บ้านห้วยขะยุง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของฟ้อนในประเพณีบุญบั้งไฟ บ้านห้วยขะยุง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และ 3) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานแก่นักศึกษาในประเพณีบุญบั้งไฟ บ้านห้วยขะยุง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี การวิจัยครั้งนี้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลภาคสนาม เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพและนำเสนอในแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ฟ้อนในประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นการฟ้อนที่มีการพัฒนาการมาจากโบราณจะฟ้อนในงานบุญบั้งไฟที่จัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี เรียกว่า ฟ้อนกลองตุ้ม เป็นการฟ้อนบูชาพญาแถนเพื่อขอฝนให้ตกตามฤดูกาล สมัยโบราณใช้ผู้ฟ้อนทั้งชายและหญิงไม่จำกัดจำนวน มีผู้ฟ้อนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป วิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงผู้ฟ้อนมีอยู่ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ประมาณ พ.ศ. 2462 ผู้ฟ้อนกลองตุ้มจะเป็นผู้ชายทั้งหมด ระยะที่ 2 ประมาณ พ.ศ. 2500 เริ่มมีการผสมผู้หญิงเข้ามามีส่วนในการฟ้อน ระยะที่ 3 ประมาณ พ.ศ. 2505 ถือว่าเป็นช่วงที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบผู้ฟ้อนอย่างมาก พัฒนามาจากระยะที่ 2 คือมีทั้งผู้หญิงและผู้ชายฟ้อน องค์ประกอบของการฟ้อนกลองตุ้ม ด้านเครื่องแต่งกาย แบ่งเป็น 2 ยุค คือ ยุคโบราณ และยุคใหม่ ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนกลองตุ้มมี 2 ชนิด คือ กลองตุ้มและพังฮาด ท่าฟ้อนกลองตุ้มมีทั้งหมด 5 ท่า การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานแก่นักศึกษา ประกอบด้วยขั้นวางแผนและเตรียมการด้วยการศึกษาชุมชน จากนั้นนำข้อมูลมาประชุมชี้แจง ขั้นต่อมาคือ ขั้นดำเนินการ มี 2 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นเรียนรู้ในชุมชน จำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 การเรียนรู้ในชุมชนด้านท่าฟ้อนและศึกษาองค์ประกอบทางด้านการแสดง ครั้งที่ 2 การเรียนรู้ในชุมชนจากประสบการณ์จริง จากนั้นเกิดขั้นสะท้อนคิด เมื่อสิ้นสุดการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน นักศึกษาได้สะท้อนคิดและถอดบทเรียนที่ได้จากการเรียนรู้ในชุมชน 4 ข้อ ดังนี้ 1.การเรียนเพื่อเกิดความรู้ 2.การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง 3.การเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่ร่วมกันและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น 4.การเรียนรู้เพื่อใช้ชีวิต
Article Details
References
กัญญาณัฐ สิมสวัสดิ์. (2565). การจัดการเรียนรู้โดยชุมชนเป็นฐาน : กลยุทธการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง.
ชุลีพร หงส์วิเศษ. (2566). องค์ประกอบของฟ้อนกลองตุ้ม. ชาวบ้านห้วยขะยุงและผู้สืบทอดฟ้อนกลองตุ้ม. 22, 28 ตุลาคม 2566
ทองม้วน วงศ์แสน. (2564). ความเป็นมาและพัฒนาการฟ้อน. ชาวบ้านห้วยขะยุงและผู้สืบทอดฟ้อนกลองตุ้ม. 28 มีนาคม 2564.
นฤมล พิมพ์โพธิ์. (2565). ท่าฟ้อนกลองตุ้ม. ครูผู้ช่วยโรงเรียนบ้านปุเปือย อำเภอนาจะหลาย จังหวัดอุบลราชธานี. 28 มีนาคม 2565.
นฤมล พิมพ์โพธิ์. (2566). ท่าฟ้อนกลองตุ้ม. ครูผู้ช่วยโรงเรียนบ้านปุเปือย อำเภอนาจะหลาย จังหวัดอุบลราชธานี. 10 ธันวาคม 2566.
นิษฐา บุศบงศ์. (2566). การแต่งกายของฟ้อนกลองตุ้ม. อาจารย์ประจำสาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 28 ตุลาคม 2566.
บุญสม ยอดมาลี. (2537). “วีธีการศึกษาประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น,” ใน สมบัติอีสานใต้. บุรีรัมย์: สถาบันราชภัฏบุรีรมย์.
พจมาลย์ สมรรคบุตร. (2538). แนวการคิดประดิษฐ์ท่ารําเซิ้ง. อุดรธานี : ภาควิชานาฎศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุดรธานี.
วาสนา นันทุปา. (2540). ฟ้อนซวยมืออีสาน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วีณา วีสเพ็ญ และคนอื่นฯ. (2525). รายงานผลโครงการทำนุบำรุงศิลปะและการแสดงภาคอีสาน ประจำปีงบประมาณ 2525. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
อุดม หนูทอง. (2531). ดนตรีและการละเล่นพื้นบ้านภาคใต้. สงขลา : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒสงขลา.
อุดร บัวงาม. (2562). กรวยมือ. ชาวบ้านบ้านหนองแก้ว. 28 มีนาคม 2562.