The รูปแบบการบริหารการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู สู่เป้าหมายผลลัพธ์คุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนวัดพระเกิดคงคาราม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู สู่เป้าหมายผลลัพธ์คุณภาพผู้เรียนโรงเรียนวัดพระเกิดคงคาราม ใช้วิธีวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบ ฯ โดยการศึกษาองค์ประกอบและแนวทางจากการสังเคราะห์เอกสาร และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน สรุปผล 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบ ฯ ด้านความถูกต้องและความเป็นไปได้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน 3) ทดลองใช้รูปแบบฯ กับครู จำนวน 20 คน 4) ประเมินรูปแบบ ฯ กับครู จำนวน 20 คน และผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเครือข่ายในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา จำนวน 49 คน
ผลการวิจัย พบว่า ได้รูปแบบใหม่คือ รูปแบบการบริหารการนิเทศภายในเชิงรุก PPOERE เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู สู่เป้าหมายผลลัพธ์คุณภาพผู้เรียนโรงเรียนวัดพระเกิดคงคาราม มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 หลักการ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการ ประกอบด้วย 3.1) ปัจจัยนำเข้า 3.2) กระบวนการนิเทศภายในเชิงรุก 3.3) ผลผลิต องค์ประกอบที่ 4 แนวทางการประเมินผล และองค์ประกอบที่ 5 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ผลการตรวจสอบความถูกต้องและความเป็นไปของรูปแบบ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดลองใช้รูปแบบ ฯ ดังนี้ 1) การประเมินสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ของครูในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ครูมีความพึงพอใจต่อการบริหารการนิเทศภายใน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) คุณภาพผู้เรียน 3 ด้าน ในปีการศึกษา 2565 สูงกว่าปีการศึกษา 2564 ได้แก่ 3.1) ผลการเปรียบเทียบร้อยละของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 3.2) ผลการเปรียบเทียบค่าร้อยละของจำนวนผู้เรียนที่มีสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนในระดับดีขึ้นไป ทุกสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 3.3) ผลการเปรียบเทียบค่าร้อยละของจำนวนผู้เรียนที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในระดับดีขึ้นไป การประเมินรูปแบบด้านความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ ครูมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีความคิดเห็นในการยอมรับได้ของรูปแบบ ฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
นัจรีภรณ์ ทุมสงคราม. (2556). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนสีขาวตามแนวทาง ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2561). การบริหารการศึกษาใหม่: New Education Governance
การประชุมวิชาการราชบัณฑิตสัญจร. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และคณะ. (2565). สมรรถนะการนิเทศเชิงรุก ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัตนะ บัวสนธ์.(2563). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อแกรมมี่.
วิไลลักษณ์ วชิรสกุลโชค. (2562). รูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามแนวคิดการจัดการศึกษาสำหรับเขตพื้นที่สูงภาคเหนือตอนบน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย.
สุวดี อุปปินใจและคณะ. (2565). การนิเทศและการพัฒนานวัตกรรมการนิเทศการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3ฉบับปรับปรุง). เชียงราย: : โรงพิมพ์ชอบพิมพ์.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2558). การบริหาร: ทักษะและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
Bergeron, K. (2004). Supervisors’ perceptions of the process off supervision with counselors who utilize play therapy. Dissertation Abstracts International, 45(4), 1156-A.
Wittayakorn Chiangkoon. (2010). The State of Thailand’s Education in 2006/2007 Educational Problem-solving and Reforming Holistically. Bangkok: Office of the Education Council.
Mannipa Chutibutr. (2010). The Teacher’s Quality Development by Empowering Method. Bangkok: Bangkok Educational Service Area Office 3.
Collins Essential Thesaurus. (2003). Collins essential thesaurus. Retrieved from http://www.thefreedirectionary.com/indicator
Pairot Kanoklaab. (2010). Supervision in Education : Theories and Practice. Bangkok: Srinakharinwirot University.
Krongthong Chiradechakul. (2007). Supervision in School Guidebook. Bangkok: Tharn-ak-sorn.
Hersey, P., Blanchard, K. H., & Johnson, D. E. (1996). Management of organizational behavior. London: Prentice-Hall International.
Yarbrough, et al. (2011). The program evaluation standards: A guide for evaluators and evaluation users. (3rd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.