การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บนฐานสมรรถนะสำหรับเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม กรณีศึกษา:ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 5

Main Article Content

ศุภชัย ไตรไทยธีระ
วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา
วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้บนฐานสมรรถนะสำหรับเด็กและเยาวชน  2.เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บนฐานสมรรถนะสำหรับเด็กและเยาวชน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย เด็กและเยาวชนจำนวน 30 คน ครูและผู้บริหารจำนวน 10 คน เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง คือ เยาวชนกลุ่มที่มีคำสั่งศาลให้ควบคุมในระยะเวลาที่ไม่น้อยกว่า 3 เดือน และครูที่ปรึกษา ผลการวิจัยพบว่า การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม มีความยืดหยุ่นมากกว่าในระบบการศึกษาปกติ จากการสำรวจเพื่อค้นหาสมรรถนะปรากฏสำคัญ 6 สมรรถนะหลักและ 48 สมรรถนะย่อย การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้นำเอาความต้องการของเด็กและเยาวชนมากำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ในแผนการเรียนรู้รายบุคคล โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ที่กำหนดเอง (Heutagogy) เป็นฐานคิดสำคัญในการออกแบบ ครูจัดทำแผนสนับสนุนการเรียนรู้รายบุคคลและพัฒนาระบบสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ การวิจัยนี้เป็นการกระตุ้นให้ตระหนักในคุณค่าตนเองสู่การเกิดสมรรถนะ(KSA) เป็นการกอบกู้ชีวิตใหม่สำหรับเด็กและเยาวชน ภายใต้กลไกสนับสนุนที่สอดคล้องกับนิเวศการเรียนรู้ ไล่เรียงจากจุลภาคไปจนถึงมหัพภาค ครูทำหน้าที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ ระหว่างเด็กและเยาวชน ผู้ปกครอง หน่วยงานองค์กร ระเบียบ ข้อบังคับและนโยบาย ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางในการขับเคลื่อนกลไกคือ INSPRIE Model ประกอบไปด้วย I: Inspire / Motivation แรงบันดาลใจหรือแรงผลักดัน Navigator of life เข็มทิศชีวิต แผนการดำเนินชีวิต S: Self awareness การตระหนักรู้ตนเอง P: Plan การวางแผน R: Relation / Reflection การเชื่อมโยง และการสะท้อนความคิด I: Implement การดำเนินการ ปฏิบัติการเรียนรู้ E: Empower / Enhance การเสริมพลัง และการยกระดับ การทำงานของกลไกแบ่งออกเป็น 3H Head Heart Hand โดยฐานแรก เรียกว่า ฐานใจ เป็นฐานที่ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนสร้างแรงจูงใจหรือแรงบันดาลใจในการพัฒนาสมรรถนะตนเอง ดำเนินการกำหนดทิศทาง และเป้าหมายชีวิตของตนเองที่มีความเหมาะสม บนฐานของความตระหนักรู้ของตนเอง ฐานที่สอง เรียกว่า ฐานหัว เริ่มดำเนินการวางแผนการเรียนรู้ตามแผนดำเนินชีวิต และแผนการเรียนรู้รายบุคคล และฐานสุดท้าย เรียกว่า ฐาน(ลงมือ)ทำ ซึ่งดำเนินการเป็นขั้นสุดท้ายเพื่อการบรรลุเป้าหมายในการเรียนรู้ของตนเองโดยดำเนินการจัดระบบความคิดด้วยกระบวนการเชื่อมโยง เสริมสร้าง และการสะท้อนความคิดของตนเสมอ ตลอดจนเข้าสู่การดำเนินการ และขั้นตอนสุดท้ายเป็นการเสริมพลังเพื่อการยกระดับสมรรถนะของตนเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา, สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



References

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2554). ระเบียบกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนว่าด้วยหลักสูตรการฝึกอบรมเด็กและเยาวชน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน.

กอบสุข คงมนัส. (2561). เครื่องมือดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ : วิถีแห่งการศึกษายุคดิจิทัล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(4), 285-290.

กุลนาถ หงษ์ลอย. (2555). อนาคตภาพของการจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชน ผู้กระทําผิด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คำ ผกา.(2562). โรงเรียนไม่ได้มีไว้เพื่อให้เด็กเกลียดตัวเอง. สืบค้นเมื่อที่ 1 กรกฏาคม 2567 จากเว็บไซต์: https://www.matichonweekly.com/column/article_250526

จินตนา สุจจานันท์. (2554). การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2563). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกฐานสรรถนะเชิงรุก. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเลิศ แก้วจันทร์. (2554). แนวทางส่งเสริมการจัดศึกษาที่มีประสิทธิภาพให้เด็กและเยาวชนในสถานพินิจกรณีศึกษาสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดร้อยเอ็ด. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา.

บังอร เสรีรัตน์. (2565). การเรียนการสอนฐานสมรรถนะและการวัดและประเมินผลฐานสมรรถนะ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา. (2561). การศึกษาตามอัธยาศัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี- สฤษดิ์วงศ์.

วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา. (2563). แนวทางการจัดการศึกษาทางเลือกส่าหรับเด็กและ เยาวชนในกระบวนการยุติธรรม. โครงการศูนย์วิชาการและเครือข่ายวิชาการด้าน เด็ก เยาวชน และครอบครัว.

Anderson, T.P. (1997). Using Models of Instruction. In C.R. Dills and A.J. Romis Zowski(eds.), Instructional Development Paradigms. Englewood Cliffs, New Jersey: Education technology Publications.

A. J. Cropley and R. H. Dave. 1978. Lifelong education and the training of teachers: Developing a Curriculum for teacher education on the basis of the principles of lifelong Education. Oxford: pergamon.

Cohen, J.M. & Uphoff, N.T. (1980). Rural Development Participation : Concepts and Measures for Project Design, Implementation and Evaluation. n.p. New York: Cornell University.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Keeves, J.P. (1988). Educational Research, Methodology and Measurement : An International Handbook. Oxford: Pergamum.

Rolfe, A., & Cheek, B. (2012). Learning styles. In-novAiT,5,176B181.http://dx.doi.org/10.1093/

innovait/inr239