รูปแบบการพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว

Main Article Content

ไพฑูรย์ แจ่มพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาบุคลากร 2) สร้างรูปแบบฯ 3) ทดลองใช้รูปแบบฯ และ 4) ประเมินรูปแบบฯ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว จำนวน 66 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบทดสอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ ด้านการพัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2) รูปแบบการพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ฯ ประกอบด้วย 5 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 หลักการและวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 2 เนื้อหาของรูปแบบ ส่วนที่ 3 กระบวนการพัฒนา ส่วนที่ 4 การประเมินผล และส่วนที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่า คะแนนประเมินความรู้หลังการเข้าร่วมพัฒนา สูงกว่าคะแนนประเมินความรู้ก่อนการเข้าร่วมพัฒนา และระดับพฤติกรรมก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง หลังการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า ด้านความเป็นประโยชน์ และการประเมินระดับความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). ไอซีทีเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

จรัญ น่วมมะโน. (2562). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในการจัด

การเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จิรัฐิติกาล บุญอินทร์. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ชัดสกร พิกุลทอง. (2563). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2560). ครูและนักเรียนในยุคการศึกษาไทย 4.0. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ทิศนา แขมมณี. (2546). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนา ธุศรีวรรณ. (2562). การพัฒนารูปแบบการชี้แนะเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นวลลออ ทวิชศรี. (2563). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันและกรณีศึกษาตามหลักการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถสื่อสารในการปฏิบัติการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปวีณา บุนนาค. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการนวัตกรรมท้องถิ่นในเขตภูมิภาคตะวันตก. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไพรัช ธัชยพงษ์ และพิเชษฐ์ ดุรงคเวโรจน์. (2555). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

ยนต์ ชุ่มจิต. (2558). ความเป็นครู (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว. (2565). รายงานการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565. อุบลราชธานี: โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว.

วชิรา เครือคำอ้าย และชวลิต ขอดศิริ. (2562). การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยงเพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่. วารสาร สมาคมนักวิจัย. 24(1), 121-135.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551) . ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเบียบวาระแห่งชาติ 2551 - 2555. กรุงเทพ ฯ: สํานักงานเลขาธิการ สภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.

สุขุม เฉลยทรัพย์ และคณะ. (2555). เทคโนโลยีสารสนเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2559). การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรบนพื้นฐาน 70:20:10 Learning Model. กรุงเทพฯ: เอช อาร์เซ็นเตอร์.

Deming, W.E. (1995). Out of the Crisis. Cambridge. Mass : Massachusetts Institute of Technology.

Mitchell. D.Y. (1998). The impact of a Self-directed learning model on public high school students. Dissertation thesis, Ed.D. Pepperdine:Pepperdine University.