รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา ในจังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักไตรสิกขา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนระดับประถมศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักไตรสิกขา การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงผสานวิธี แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาสภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน เครื่องมือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 เพื่อสร้างรูปแบบ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน โดยการจัดสนทนากลุ่ม และระยะที่ 3 เพื่อประเมินรูปแบบผู้เชี่ยวชาญประเมินรูปแบบ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบประเมิน สถิติที่ใช้ได้แก่ค่าความถี่และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา ในจังหวัดนครสวรรค์ตามหลักไตรสิกขา พบว่า 1) ด้านความพอเพียงตามหลักไตรสิกขา มี 6 แนวทาง 2) ด้านความกตัญญูตามหลักไตรสิกขา มี 6 แนวทาง 3) ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ตามหลักไตรสิกขา มี 6 แนวทาง 4) ด้านความรับผิดชอบตามหลักไตรสิกขา พบว่า มี 6 แนวทาง และ 5) ด้านอุดมการณ์ คุณธรรมตามหลักไตรสิกขา พบว่า มี 6 แนวทาง และผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา ในจังหวัดนครสวรรค์ตามหลักไตรสิกขา ทุกด้าน แยกได้ดังนี้ ความถูกต้อง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 อยู่ในระดับมากที่สุด ความเหมาะสม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 อยู่ในระดับมากที่สุด ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 5.00 อยู่ในระดับมากที่สุด ความเป็นประโยชน์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ,(2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560–2579. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา.
กระทรวงศึกษาธิการ,(2561). คู่มือแนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
ธนสาร บัลลังก์ปัทมา, และ สถาพร ขันโต,(2562). รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา. ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ธีระ ขันบุตร,(2562). กลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมที่มีสัมฤทธิผลโรงเรียนบ้านปากน้ำ (เผดิมจีนนาวาสงเคราะห์) อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เปรมศิริ เนื้อเย็น. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองบ้วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2. รายงานการวิจัย,โรงเรียนบ้านหนองบ้วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบุรี เขต 2.
ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูณแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
วาสนา สุขธนู. (2562). การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียนวัดป่าไผ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. รายงานการวิจัยโรงเรียนวัดป่าไผ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2559). สร้างสรรค์ผู้นำ คุณธรรมคู่ปัญญา พัฒนาสังคมไทย : 4 ทศวรรษพัฒนบริหาร. กรุงเทพฯ: สถาบัณบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2566-2570). กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์.