กลยุทธ์การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาในยุคปัญญาประดิษฐ์โรงเรียนบ้านห้วยน้ำเย็น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2

Main Article Content

สุปรียา คำโมนะ
พูนชัย ยาวิราช
ประเวศ เวชชะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอกลยุทธ์การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาในยุคปัญญาประดิษฐ์โรงเรียนบ้านห้วยน้ำเย็น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ผู้วิจัยได้ออกแบบการวิจัยโดยใช้ 1) การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ออกแบบการวิจัยโดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานประเภทลำดับต่อเนื่องเชิงอธิบาย (Explanatory sequential) 2) เทคนิคการสนทนาแบบกลุ่ม (Focus Group Discussion) นำเสนอในรูปแบบความเรียง ผลการวิจัยพบว่า การบริหารหลักสูตรในยุคปัญญาประดิษฐ์มีข้อจำกัดด้านทรัพยากร เทคโนโลยี และศักยภาพบุคลากร ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการบริหารหลักสูตร ได้แก่ นโยบายทางการศึกษา การสนับสนุนด้านเทคโนโลยี และการพัฒนาศักยภาพครู นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย กลยุทธ์ และแผนงานโครงการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง แนวโน้มการบริหารหลักสูตรในอนาคตเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อยกระดับการเรียนรู้และการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ จากการศึกษาเสนอ 5 กลยุทธ์สำคัญ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาแผนการดำเนินงานที่เป็นระบบ กลยุทธ์ที่ 2 สร้างระบบติดตามและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ที่ 3 สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีและสื่อดิจิทัล กลยุทธ์ที่ 4 บูรณาการปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในกระบวนการเรียนรู้ กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาศักยภาพครูผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ กลยุทธ์ทั้ง 5 ประการมีความเชื่อมโยงกันเพื่อพัฒนาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาในยุคปัญญาประดิษฐ์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

Article Details

How to Cite
คำโมนะ ส., ยาวิราช พ. ., & เวชชะ ป. (2025). กลยุทธ์การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาในยุคปัญญาประดิษฐ์โรงเรียนบ้านห้วยน้ำเย็น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.), 7(1), 170–189. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/278075
บท
บทความวิจัย

References

กษมา ชนะวงศ์. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

กษมา ชนะวงศ์, วิทยา จันทร์ศิลา, และ สถิรพร เชาวน์ชัย. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ

หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนเอกชน. วารสารสันติศึกษา

ปริทรรศน์ มจร, 10(5), 2037-2049.

ไทยพีบีเอส. (2566). ย้อนวิวัฒนาการในรอบ 75 ปี ปัญญาประดิษฐ์.

www.thaipbs.or.th: https://www.thaipbs.or.th/news/content/272538

ธาริดา สกลภัทรสกุล, และ ทัศนะ ศรีปัตตา. (2565). สภาพการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนา

ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1. วารสารพัฒนาการเรียนรู้, 8(5), 89-99

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. สุรีวิยาสาส์น.

พัชรินทร์ สร้อยสน. (2564). การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรเพื่อส่งเสริมศักยภาพรายบุคคล

ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยระดับมัธยมศึกษา.

วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 11(1), 36-47

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พศ.2560-2579. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

อภิชญา กานดา และ สุภาวดี ลาภเจริญ. (2564). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทํา

วิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร.

วารสารวิชาการ สพฐ., 10, 33-45.

อรอัยริน เลิศจิรชัยวงศา. (2564). ทักษะการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงาน

วิชาการของสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 22(1),

–279.

Adrien Schmidt. (2017). How AI Impacts Education. www.forbes.com: https://www.shorturl.asia/HZ1bL

Clark D. & Waters D. (2019). The impact of artificial intelligence in education: A systematic review. International Journal of Education and Technology, 33-49.

Covey S. R. (2020). The 7 habits of highly effective people. Simon & Schuster.

Luckin R. Holmes W. Griffiths M. & Forcier L. B., L. (2020). Intelligence unleashed: An argument for AI in education. Pearson.