สมรรถนะผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย

Main Article Content

ชัชชนม์ พลลาภ
อำนวย มีราคา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา 2. ศึกษาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน 3. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะผู้บริหารกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน และ 4. ศึกษาอำนาจพยากรณ์สมรรถนะผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย ปีการศึกษา 2567 จำนวน 284 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นในส่วนสมรรถนะผู้บริหาร .980 และการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ .974 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหูคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า  1. สมรรถนะผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่การพัฒนาตนเอง รองลงมา คือ การทำงานเป็นทีม การมีวิสัยทัศน์ การมุ่งผลสัมฤทธิ์  การคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การสื่อสารและการจูงใจ 2. การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ รองลงมา คือ การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม การคิดอย่างเป็นระบบ และการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การมีรูปแบบทางความคิด 3. สมรรถนะผู้บริหารกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในระดับสูง 4. สมรรถนะผู้บริหาร 4 ด้าน มีอำนาจพยากรณ์การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ การพัฒนาตนเอง การคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ การทำงานเป็นทีม และการมีวิสัยทัศน์

Article Details

How to Cite
พลลาภ ช., & มีราคา อ. (2025). สมรรถนะผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.), 7(1), 50–63. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/278085
บท
บทความวิจัย

References

ฐิตาภา สุวรรขำ และละมุล รอดขวัญ. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักของผู้บริหารกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วารสารร้อยแก่นสาร. 7(7), 109–125.

ฐิติ เรืองฤทธิ์. (2560). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดจันทบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17.วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณิกัญญา สายธนู. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 5. วารสารวิชาการ ศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 7(1), 102.

นพพร ล่ำสัน. (2558).ภาวะผู้นำและสมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศของ สถานศึกษา, วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(2), 136-139.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุวีริยาสาส์น.

ยืนยง ไทยใจดี และคณะ. (2564). พหุสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20.วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล. 7(1), 89–102.

ราณี จีนสุทธิ์ และคณะ. (2564). การพัฒนาวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 8(2), 375-389

วรัชญ์ธารีประกิ่ง. (2562). องค์การแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 270–280.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2546). พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ

บ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. ม.ป.ท.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2560). คู่มือการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา. โรงพิมพ์คุรุสภา.

สุทฤศยา สุขสำราญ. (2561). สมรรถะของผู้บริหารในการพัฒนาโรงเรียนขยายโอกาส เครือข่ายการจัดการศึกษาที่ 3 สำนักงานเขตฟื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนองสู่ศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุรัชดา นันทอง. (2567). แนวทางการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. วารสารศึกษิตาลัย, 5(2), 57-70.

หนูกัณฑ์ ปาโส และยุวธิดา ชาปัญญา. (2562). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งการ

เรียนรู้ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 9(3), 62-70.

อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า. (2562). องค์การแห่งการเรียนรู้. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 5(1), 157-170.

อำนวย มีราคา. (2566). การบริหารจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. สมศักดิ์การพิมพ์ กรุ๊ป.

เอกชัย มดแสง. (2562). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, 7(2), 161-173.

Senge, P. M. (1990). The fifth discipline: The art and craft of the learning organization. Century Press.

Senge, P. M. (2006). The fifth discipline: The art and craft of the learning organization (2nd ed.). Century Press.