แนวทางพัฒนาทักษะการบริหารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในกลุ่มป่าซางสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การศึกษาอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของทักษะการบริหารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best Practice )ด้านทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา 3)ศึกษาแนวทางในการพัฒนาทักษะการบริหารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ของโรงเรียนในกลุ่มป่าซาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนในกลุ่มป่าซาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 1 จำนวน 51 คน ผลการศึกษาพบว่า
1)สภาพปัจจุบันของแนวทางพัฒนาทักษะการบริหารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา 1 ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึ่งประสงค์ของแนวทางพัฒนาทักษะการบริหารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2)แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านทักษะการบริหารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษ มีทั้งหมด 4 ทักษะ ดังนี้ 1)ทักษะด้านเทคนิควิธี2)ทักษะด้านมนุษย์3)ทักษะด้านความคิดรวบยอด4)ทักษะด้านการศึกษาและการสอน 3)แนวทางในการพัฒนาทักษะการบริหารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ของโรงเรียนในกลุ่มป่าซาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 1 ตามการจัดลำดับความต้องการจำเป็นอันดับแรกได้แก่ ทักษะด้านความคิดรวบยอด ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีวิธีการคิดแก้ปัญหาด้วยวิธีการใหม่ๆ ได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว นำความรู้ประสบการณ์ที่มีมาประยุกต์ใช้ประกอบกับข้อมูลการตัดสินใจ ได้อย่างมีคุณภาพ
Article Details
References
บุญยวรีย์ เศวตวงศ์สกุล. (2557). การพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2560). การพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มีสบัฮ สาเม๊าะ. (2558). ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วัลลิภา พูลศิริ. (2562). การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ศรัญญา น้อยพิมาย. (2562). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานีเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศศิตา เพลินจิต. (2558). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. โรงพิมพ์การศึกษาภายใน.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2548). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ 2545. พริกหวานกราฟฟิค.
สุริยา ทองยัง. (2558). ทักษะของผู้บริหารโรงเรียนวัดตะล่อม สังกัดกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อุดม พินธุรักษ์. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารการศึกษาทางไกล, 15(1), 23-40.
Griffin, Ricky W. (1984). Management. Houghton Mifflin.
Katz, R. L. (1974). Skill of an Effective Administrator. Harvard Business Review, 5(3)90-102.
Hammer, J. S. (2000, July). An Analysis of Technical, Human and Conceptual Skill Among Student Affairs Administrators in Higher Education. Dissertation Abstract International, 23, 64-A.
Newman, W. H. (1963). Administrative action: The techniques of organization and management. Prentice-Hall.
Paisey, A. (1981). Organization and management in schools. Longman.