กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนบ้านสันติสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3 ให้รองรับยุคปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Era)

Main Article Content

พิมผกา พรรดา
พูนชัย ยาวิราช
ประเวศ เวชชะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนบ้านสันติสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนบ้านสันติสุข 3) เพื่อศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนบ้านสันติสุข 4) เพื่อหากลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนบ้านสันติสุข ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จากการวิจัยพบว่าการบริหารของผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารสภาพปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารมีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์และการกำหนดโครงการ/กิจกรรม ทั้งนี้ได้กำหนดกลยุทธ์ไว้ 4 กลยุทธ์ คือ 1) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกระดับในการกำหนดเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงาน 2) พัฒนาระบบการสื่อสารที่ชัดเจน โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ 3) จัดกิจกรรมสร้างความสามัคคีและการมีส่วนร่วมในองค์กร 4) กำหนดมาตรฐานและเผยแพร่ขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน นำไปสู่การกำหนดโครงการ 9 โครงการและกิจกรรม 17 กิจกรรม เพื่อตอบสนองกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนบ้านสันติสุข สังกัดสสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3

Article Details

How to Cite
พรรดา P., ยาวิราช พ., & เวชชะ ป. . (2025). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนบ้านสันติสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3 ให้รองรับยุคปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Era). วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.), 7(1), 98–113. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/278212
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ รัตนมณี. (2562). การเสริมสร้างความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของนักเรียนในระบบพหุวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์วิชาการ.

ชวลิต เกิดทิพย์. (2562). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2(30), 232-241.

ซูฮัยรี บืองาฉา และ สุนทรี วรรณไพเราะ. (2565). องค์ประกอบและปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม. ครุศาสตร์สาร. 15(2),86 – 100.

ณัฐกานต์ ศรีสุข. (2566). การบริหารสถานศึกษาในยุคปัญญาประดิษฐ์: ทิศทางการพัฒนาผู้นำทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์วิชาการ.

นภาภรณ์ พุทธชาติ. (2563). การศึกษาในบริบทพหุวัฒนธรรม: แนวทางและความสำคัญในการสร้างสังคมที่เป็นธรรม. กรุงเทพฯ:

นุรสาฮีดา แซมะแซ. (2567). รูปแบบภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ยศวดี ดำทรัพย์, (2562). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในบริบทสังคมพหุ วัฒนธรรม, วารสารครุศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยม 1(47), 272-293.

โรงเรียนบ้านสันติสุข (2567). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ประจำปีการศึกษา 2567.โรงเรียนบ้านสันติสุข.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). การศึกษาไทยในยุคดิจิทัลและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. กระทรวงศึกษาธิการ.