แนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อสร้างความเป็นเลิศให้กับผู้เรียน ของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารวิชาการ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยในการบริหารวิชาการ และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการเพื่อสร้างความเป็นเลิศให้กับผู้เรียนของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย โดยใช้เครื่องมือที่ศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1.สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการเพื่อสร้างความเป็นเลิศให้กับผู้เรียน ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากและมากที่สุด 2.ปัจจัยในการบริหารวิชาการเพื่อสร้างความเป็นเลิศให้กับผู้เรียน ได้แก่ ปัจจัยภายใน 1) ด้านโครงสร้างและนโยบายของสถานศึกษา 2) ผลผลิตและบริการ 3) บุคลากร 4) ประสิทธิภาพทางการเงิน 5) วัสดุทรัพยากร และ 6) การบริหารจัดการ ปัจจัยภายนอก 1) ด้านสังคมและวัฒนธรรม 2) ด้านเทคโนโลยี 3) ด้านเศรษฐกิจ และ 4) ด้านการเมืองและกฎหมาย 3.แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการเพื่อสร้างความเป็นเลิศให้กับผู้เรียน พบว่า การพัฒนาหลักสูตรออกแบบให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ความต้องการของตลาดแรงงาน และทักษะเฉพาะทางของแต่ละกลุ่มโปรแกรม การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้แบบโครงงาน การฝึกงานในสถานประกอบการ การเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยี และการพัฒนาทักษะเฉพาะด้าน การวัดผลประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียน ควรใช้มาตรฐานสากลในการวัดผลด้านวิชาการ และประเมินผลจากผลงานจริง รวมถึงอัตราการจ้างงานสำหรับโปรแกรมวิชาชีพ การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สนับสนุนการวิจัยของครูและนักเรียน เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน รวมถึงสร้างความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษา การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมเฉพาะด้าน ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง การนิเทศการศึกษา พัฒนาเทคนิคการสอนแบบ Inquiry-Based Learning และ Simulation-Based Training รวมถึงสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ควรใช้เกณฑ์มาตรฐานสากล
Article Details
References
กรรณิกา อรรถชัยยะ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ธีระพงษ์ แก้ว. (2562) การพัฒนาศึกษยภาพครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้โรงเรียนบ้านนาฮี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3.วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ปาริชาต สุนทร. (2560).การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
พัฒน์ธนา จิตร์ยิ้ม. (2561). การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
พินิจ มีคำทอง, & โกวิทย์ แสนพงษ์. (2562). เทคนิคการวิเคราะห์สภาพการพัฒนาเพื่อการวางแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(3), 111-120.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์.(2560). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุทธนา เกื้อกูล. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างผู้เรียนสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
รัชนี ปัญญา. (2563). การประเมินผลการเรียนที่มีประสิทธิภาพในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย. (2566). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย. เชียงราย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2565). สรุปผลการประเมิน PISA 2022 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์.
สมชาย ตันติวัฒนานันท์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สุริยา พรหมวิชัย. (2561). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.