การศึกษาอิสระ กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษาของโรงเรียนศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาท่าตอนศูนย์ที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3

Main Article Content

จาระวี วงค์ใหญ่
พูนชัย ยาวิราช
ไพรภ  รัตนชูวงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษาอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษา 2) ศึกษาแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล 3) เสนอกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลในโรงเรียนศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาท่าตอน ศูนย์ที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 การวิจัยใช้ระเบียบวิธีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารทรัพยากรบุคคลอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศครอบคลุม 5 ด้าน ได้แก่ 1) การวางแผนอัตรากำลัง 2) การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง 3) การเสริมสร้างประสิทธิภาพ 4) การรักษาวินัย 5) การออกจากราชการ การพัฒนากลยุทธ์ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่    1) การบริหารทรัพยากรบุคคลแบบองค์รวม 2) กระบวนการสรรหาและพัฒนาบุคลากรที่โปร่งใส  3) แผนการอบรมที่ตอบสนองเป้าหมายองค์กร 4) การส่งเสริมความเข้าใจในกฎระเบียบและวินัย  5) การพัฒนากระบวนการออกจากราชการอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ ได้กำหนดโครงการ 10 โครงการ และ 20 กิจกรรม เพื่อพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร

Article Details

How to Cite
วงค์ใหญ่ จ., ยาวิราช . พ., & รัตนชูวงศ์ ไ. (2025). การศึกษาอิสระ กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษาของโรงเรียนศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาท่าตอนศูนย์ที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.), 7(1), 220–236. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/278225
บท
บทความวิจัย

References

นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์. (2559). หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พูนชัย ยาวิราช . (2564). กลยุทธ์การบริหารเพื่อสร้างวัฒนธรรมคุณภาพในองค์การทางการศึกษา หลักการ แนวคิด และความสำเร็จ (พิมพ์ครั้งที่ 4). มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

ไพรภ รัตนชูวงศ์.(2560). กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สุวดี อุปปินใจ. (2560). การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษาภายใต้บริบทของการปฏิรูปการศึกษา. วารสารการศึกษาพัฒนา, 14(2), 151-162.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การพัฒนาระบบการประเมินความต้องการและลำดับความสำคัญของปัจจัยต่างๆในองค์กร. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสกสรรค์ สนวา. (2560). การพัฒนามนุษย์ในชุมชนท้องถิ่นกับความเป็นพลเมือง. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เสนาะ ติเยาว์. (2551). หลักการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 4). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต3. (2566). รายงานการบริหารงานบุคคลประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566. กลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต3.

Allen, L. A. (1985). Management and organization. McGraw-Hill.

Bass, B. M. (1985). Leadership and performance beyond expectations. Free Press.

Black, J. S., & Porter, L. W. (2020). Management: A global perspective. Pearson.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Drucker, P. F. (2020). Management: Tasks, responsibilities, practices. Harper & Row.

Dessler, G. (2020). Human resource management in education: Theory and practice. Pearson Education.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Koontz, H., & Weihrich, H. (2015). Essentials of management: An international perspective. McGraw-Hill Education.

Mathis, R. L., & Jackson, J. H. (2017). Human resource management: Essential perspectives. Cengage Learning.

Robbins, S. P., & Judge, T. A. (2019). Organizational behavior. Pearson Education.

Storey, J. (2016). Human resource management: A critical text. Cengage Learning.

Torrington, D., Hall, L., & Taylor, S. (2021). Human resource management. Pearson Education.