การพัฒนาระบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3

Main Article Content

กาญจ์มณี สิทธิอาษา
สุวดี อุปปินใจ
หาญศึก เล็บครุฑ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อพัฒนาระบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 มีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของระบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3  เป็นการศึกษาโดยใช้วิธีการสังเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 สร้างและประเมินระบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3  ใช้ผลจากขั้นตอนที่ 1 มาสร้างระบบ นำเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน การวิเคราะห์เชิงสถิติโดยคำนวณหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา


ผลการศึกษาพบว่าระบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการประกันคุณภาพ การศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3  มีองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลลัพธ์ และข้อมูลย้อนกลับ ผลการประเมินมาตรฐานความถูกต้องอยู่ในระดับมาก และมาตรความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
สิทธิอาษา ก., อุปปินใจ ส., & เล็บครุฑ ห. (2025). การพัฒนาระบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.), 7(1), 190–206. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/278580
บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มนโยบายและแผน. (2567). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี พ.ศ. 2566 – 2570 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2567). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3.

พัลลภ พิริยะสุรวงศ์. (2563). เทคโนโลยีสารสนเทศกับการปฏิรูปการศึกษา. http://www.kroobannok.com/view.php?article_id=145

ไพศาล สุวรรณน้อย. (2561). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning: PBL). https://ph.kku.ac.th/thai/images/file/km/pbl-he-58-1.pdfvol2_1/vol2_1_004.pdf

เรืองฤทธิ์ เกษสุวรรณ. (2557). การจัดการคุณภาพ: จาก TQC ถึง TQM, ISO 9000 และการประกันคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). บพิธการพิมพ์.

วารุณี ลัภนโชคดี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลและพัฒนาการของระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

จากผลการประเมินคุณภาพภายนอกทั้งสามรอบของ สมศ. งานวิจัยสมศ.สำนักงานรับรองมาตรฐาน

และประเมินคุณภาพการศึกษา.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวดี อุปปินใจ และคณะฯ.(2566). รูปแบบการส่งเสริม กำกับ และติดตามการนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้พัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

อุไร จุ้ยกำจร. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อังคณา ศรีทิพย์ศักดิ์.(2565). แนวทางการบริหารระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาสหวิทยาเขตกลุ่มดอยอินทนนท์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 16(3), 134-140.

Banathy, B. H. (1968). Instructional system. Belmont. Fearon.

Biggs, J. B., & Others. (1980). The process of learning. Prentice Hall.

Eisner, E. W. (1976). Educational connoisseurship and criticism: Their form and functions in educational evaluation. Journal of Aesthetic Education, 10(3/4), 135–150.

Gilgun, J. F. (2012). Reflexivity and Qualitative Research. Current Issue in Qualitative Research, 1(2), 1-8.

Joyce, B. & Weil, M. (2000). Model of Teaching (5th ed.). Allyn and Bacon.

Luhmann, N. (1984). Soziale Systeme: Grundri ßeinerallgemeinen Theorie [Social systems: Outline of a general theory]. Suhrkamp.

Madaus, G. F., Scriven, M., & Stufflebeam, D. L. (Eds.). (1983). Evaluation models: Viewpoints on educational and human services evaluation. Kluwer-Nijhoff.

Von Bertalanffy, L. (1968). General system theory: Foundations, development, applications. George Braziller.