การปรับปรุงรูปแบบและเทคนิคการผลิตถ่าน ด้วยเตาขนาด 200 ลิตร

ผู้แต่ง

  • พิสิษฏ์ มณีโชติ
  • ลุตฟี สือนิ

คำสำคัญ:

เตาเผาถ่าน 200 ลิตร, ฉนวนกันความร้อน, คาร์บอไนเซชั่น, ถ่าน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเปรียบเทียบคุณภาพถ่านกะลามะพร้าวที่ได้จากกระบวนการผลิตของเตาเผาถ่านขนาด 200 ลิตร โดยทำการปรับปรุงรูปแบบร่วมกับเทคนิคการผลิตถ่าน โดยใช้เตาเผาถ่านรุ่นมังกรพ้นไฟ 84 ที่มีการเพิ่มอุปกรณ์ทรงกรวยเข้าไปในห้องเผาที่ทำจากถังน้ำมัน 200 ลิตร โดยใช้ทำการเปรียบเทียบผลของคุณภาพถ่านต่อการหุ้มฉนวนทั้ง 3 ชนิด คือ ดิน ทราย และแกลบดำ จากการศึกษาพบว่าเตาเผาถ่านแบบเพิ่มฉนวนกันความร้อนจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่าเตาเผาถ่านแบบไม่มีฉนวนกันความร้อน เนื่องจากฉนวนกันความร้อนมีคุณสมบัติในการสกัดกั้นความร้อนจากด้านในเตาไม่ให้ความร้อนถ่ายเทสู่บรรยากาศได้ง่าย ลดการสูญเสียความร้อนของเตาเผาถ่านและลดระยะเวลาในการเผาถ่านได้ และฉนวนแกลบดำจะมีอุณหภูมิสูงสุดที่ 735.1 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการปิดเตา 70 นาที ปริมาณถ่านที่ผลิตได้ 4.6 กิโลกรัม ที่ปริมาณไม้เริ่มต้น 25 กิโลกรัม จากการทดสอบค่าการดูดซับไอโอดีน พบว่าเตาเผาถ่านที่ใช้ฉนวนแกลบดำมีค่าการดูดซับไอโอดีนสูงสุดเท่ากับ 910.4461 มิลลิกรัมต่อกรัม และมีพื้นที่ผิวจำเพาะสูงสุดที่ 172.5114 ตารางเมตรต่อกรัม และปริมาตรรูพรุนของถ่านที่ 0.082566 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกรัม และมีค่าความร้อนมากสุด เท่ากับ 7,177 แคลอรีต่อกรัม

References

1. Energy policy and planning office (EPPO). “Energy statistics of Thailand 2016”. P.28.,2016. Retrieved from https://www.eppo.go.th.
2. Department of alternative energy development and efficiency. “Alternative energy development plan (AEDP2015)”. Retrieved from https://www.dede.go.th/download/files/AEDP2015_Final_version.pdf
3. P. Maneechot, P.Tanarak, S. Tongsan, B. Prasit, W. Wansungnern, A. Phetcharee, A. Akkapin. Development of charcoal kiln vertical power size 200 liters by gasification techniques, TREC-8. 4-6 December. RMUTT. Pathum Thani., 2015.
4. P. Rukkarnngan, K. Skunpongmalee, J. Intanin, P. Mulsri. Development of thermal efficiency of the 200 liters charcoal kiln by using insulate enveloped, TREC-7. 12-14 Dec. RMUTR. Prachuap Khiri Khan., 2014.
5. L. Luenarm and S. Cuhasawan, Development and Research of coconut shell charcoal production by semi-continuous firing. Bangkok., 2008.
6. J. Katesa, Effects of carbonization temperatue on properties of chars and activated carbon from coconut shell, Suranaree university of technology., 2013.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03/05/2018