เปรียบเทียบประสิทธิภาพการสกัดสารโรทีโนนจากรากหางไหลโดยใช้สนามไฟฟ้าพัลส์
คำสำคัญ:
รากหางไหล, สารสกัดจากรากหางไหล, โรทีโนน, สนามไฟฟ้าพัลส์บทคัดย่อ
การผลิตรากหางไหลด้วยวิธีการปลูกแบบไร้ดิน สามารถให้ปริมาณผลผลิตรากสดถึง 136.17 กรัม/ต้น มากกว่าการปลูกในดินผสม ที่ 51.33 กรัม/ต้น ช่วงระยะเวลาในการปลูก 7 เดือน และจากการตรวจหาปริมาณสารโรทีโนนที่มีอยู่ในรากด้วยเครื่อง HPLC พบว่ารากหางไหลที่ได้จากการปลูกในดินผสมมีสารโรทีโนนอยู่ 0.048 มิลลิกรัม/ลิตร สูงกว่าวิธีการปลูกแบบไร้ดิน ที่0.02 มิลลิกรัม/ลิตร และผลจากการนำสนามไฟฟ้าพัลส์มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการสกัดสารโรทีโนนจากรากหางไหล เพิ่มเติมจากวิธีการสกัดด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว และวิธีการสกัดด้วยน้ำเปล่าร่วมกับแอลกอฮอล์ 95 โดยที่ค่าของสนามไฟฟ้าเท่ากับ 4.7 กิโลโวลต์/เซนติเมตร ใช้เวลา 30 นาที พบว่าตัวอย่างรากหางไหลที่สกัดด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวภายหลังใช้สนามไฟฟ้าพัลส์มีค่าโรทีโนนเพิ่มขึ้นเป็น 479.41 มิลลิกรัม/ลิตร จากเดิมที่ 200.96 มิลลิกรัม/ลิตร และตัวอย่างรากหางไหลที่สกัดด้วยน้ำเปล่าร่วมกับแอลกอฮอล์ 95 เปอร์เซ็นต์ ภายหลังใช้สนามไฟฟ้าพัลส์มีปริมาณโรทีโนนอยู่ที่ 567.350 มิลลิกรัม/ลิตร จากเดิมที่ 451.73 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ ซึ่งตัวอย่างรากหางไหลที่ผ่านการสกัดเพิ่มเติมด้วยสนามไฟฟ้าพัลส์จะมีปริมาณ
โรทีโนนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสกัดสารจากรากหางไหลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับนำไปใช้ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
References
2. Matsumura, F. 1975. Toxicology of Inseeticides. Plenum New York. 598 pp.
3. Dawson V.K., W.H. Gingerich, R. A. Davis, and P. A . Gilderhus. 1991. Rotenone persistence in freshwater ponds : effects of temperature and sediment adsorption. North American Journal of Fisheries Management 11:226 – 231.
4. Lehman, A.J. 1950. Some toxicological reasons why certain chemicals may or may not be permised as food additives. Quarterly Bulletin of the Association of food and Drug Officials.US, 14:82
5. WHO. 1992.. Rotenone health and safety guide ( Health and safety guide no.73 ) World Health Organization, Geneva.
6. Chatchawan Kantala, Veasarach Jonjaroen, Nattayaporn Suacumsang, Papol Sardyoung and Panich Intra. 2560. Development and Preliminary Test of a Laboratory-Scale Pulsed Electric Field System for Inactivating Microorganisms in Orang Juice, JITR Vol.1 No.1 Jul – Dec 17 RMUTL, 15-25 pp.
7. Pitiyont, V. and A. Sangwanich. 1997. Extraction, Isolation and Identification of pesticidal compound from Derris elliptica. The second Conference of Agricultural Toxic substances division.Department of Agriculture. P. 84-92
8. J. P. Clark, Pulsed electric field processing, Food Technology, vol. 60, no. 1, pp. 66-67, 2006.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและค่าสะกดต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรม ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือเป็นมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด