ศึกษาปริมาณสาร GABA ในข้าวก่ำพื้นเมืองชนเผ่าม้ง

ผู้แต่ง

  • เพ็ญพร วินัยเรืองฤทธิ์

คำสำคัญ:

แกมม่าอะมิโนบิวทิริก แอซิค (กาบา) , ข้าวก่ำ , ข้าวพื้นเมืองชนเผ่าม้ง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาถึงปริมาณของสารแกมม่าอะมิโนบิวทิริก แอซิค (GABA) ในข้าวก่ำพื้นเมืองชนเผ่าม้ง โดยทำการเก็บตัวอย่างข้าวก่ำจากหมู่บ้านเข็กน้อยและหมู่บ้านเล่าลือ อ. เขาค้อ จ. เพชรบูรณ์ สามารถเก็บตัวอย่างพันธุ์ข้าวได้ 3 ตัวอย่างพันธุ์ แบ่งเป็นข้าวเจ้า 1 ตัวอย่างพันธุ์ คือ ข้าวเจ้าแดง (R-1)   และข้าวเหนียว 2 ตัวอย่างพันธุ์ คือ ข้าวเหนียวดำลืมผัว (R-2) และข้าวเหนียวดำม่วงคราม (R-3) ทำการวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ ปริมาณน้ำหนักเฉลี่ยๆ 100 เมล็ด วัดขนาดความกว้าง ความยาวของเมล็ดข้าวเปลือก ลักษณะของเมล็ดข้าวเปลือก ลักษณะของเมล็ดข้าวกล้อง และวิเคราะห์หาปริมาณ วิตามีนB1 วิตามีนB2  ไนอะซีน ธาตุเหล็ก และปริมาณสาร GABA พบว่า น้ำหนักเฉลี่ย100 เมล็ดอยู่ในช่วง 3.24-3.70 กรัม ขนาดความกว้างและยาวอยู่ในช่วงระหว่าง 3.59-3.66 nm 10.62-11.06 nm ตามลำดับ สีของข้าวเปลือกจะมีสีฟาง ฟางปนดำ เมล็ดข้าวกล้องมีสีแดงดำถึงดำเข้ม ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีพบว่าตัวอย่างข้าวเจ้าแดง (R-1 )จะมีปริมาณของ วิตามีน B1 B2 ไนอะซีน ธาตุเหล็ก และสารGABA สูงสุดทั้งหมด คือ 0.39 mg/100g , 0.14 mg/100g , 6.40 mg/100 g 1.84 mg/100g และ 6.47 mg/100g ตามลำดับ 

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

04/30/2020