ต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกและการแปรรูปเมล็ดกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า กรณีศึกษา กาแฟตั๋วกะหมี ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
ต้นทุน, ผลตอบแทน, กาแฟตั๋วกะหมีบทคัดย่อ
การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกและการแปรรูปเมล็ดกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า กรณีศึกษากาแฟตั๋วกะหมี ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปางในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกและการแปรรูปเมล็ดกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า กรณีศึกษา กาแฟตั๋ว กะหมี ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปางโดยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์จากเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า เพื่อนำมาศึกษาต้นทุนการปลูกกาแฟ และการแปรรูปเมล็ดกาแฟและผลตอบแทนในรูปแบบของการวิเคราะห์วิธีระยะคืนทุน วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ และอัตราผลตอบแทนภายใน ผลการศึกษา การคำนวณต้นทุนการปลูกกาแฟ มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนเฉลี่ย เท่ากับ 7,890.73 บาทต่อไร่ ต้นทุน การปลูกกาแฟมีต้นทุนการปลูกเฉลี่ยเท่ากับ 10,501.13 บาทต่อไร่ รายได้เฉลี่ย เท่ากับ 30,696.92 บาทต่อไร่ ด้านผลตอบแทนจากการลงทุน อายุโครงการ10 ปี มีระยะเวลาคืนทุน เท่ากับ 3 ปี 8 เดือน 21 วัน มูลค่าปัจจุบันสุทธิที่อัตราคิดลดร้อยละ 7 (MRR ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์) เท่ากับ 2,420,636.38 บาท และมีอัตราผลตอบแทนโครงการลงทุน เท่ากับ ร้อยละ 23.75 การแปรรูปกะลากาแฟ พบว่า มีค่าใช้จ่ายในการลงทุน เฉลี่ย เท่ากับ 78.13 บาทต่อกิโลกรัม มีต้นทุนการแปรรูปเฉลี่ยเท่ากับ 86.06 บาท ต่อกิโลกรัมและมีรายได้เฉลี่ยเท่ากับ 120.00 บาทต่อกิโลกรัม มีอายุโครงการเท่ากับ 10 ปี พบว่า มีระยะเวลาคืนทุน เท่ากับ 2 ปี 21 วัน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ ที่อัตราคิดลดร้อยละ 5 เท่ากับ 8,539,647.26 บาท และมีอัตราผลตอบแทนโครงการลงทุน เท่ากับร้อยละ 24.90 ต้นทุน การแปรรูปกาแฟกึ่งสำเร็จรูป พบว่า มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนเฉลี่ย เท่ากับ 207.13 บาทต่อกิโลกรัม ต้นทุนการแปรรูปเฉลี่ยเท่ากับ 269.40 บาทต่อกิโลกรัม และมีรายได้เฉลี่ยเท่ากับ 600.00 บาทต่อกิโลกรัม อายุโครงการ10 ปี มีระยะเวลาคืนทุน เท่ากับ 5 เดือน 21 วัน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ ที่อัตราคิดลด ร้อยละ 5 เท่ากับ 11,711,328.76 บาทซึ่งมีค่ามากกว่าศูนย์ และมีอัตราผลตอบแทนโครงการลงทุน เท่ากับร้อยละ 25.01
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและค่าสะกดต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรม ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือเป็นมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด