การพัฒนาแพลตฟอร์มระบบประกันชีวิตเฉพาะบุคคล

ผู้แต่ง

  • สุวรรณี อัศวกุลชัย UTCC

คำสำคัญ:

แพลตฟอร์ม, ระบบประกันชีวิต

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มระบบประกันชีวิตเฉพาะบุคคลผ่านเว็บไซด์ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่ตอบสนองความต้องการและความจำเป็นทางการเงินของแต่ละบุคคล สำหรับการพัฒนาใช้ software service ประกอบด้วย HTTP server เป็น Apache 2.4.25 ส่วน FTP server ใช้ Pure-FTPD 1.0.43 ระบบการจัดการฐานข้อมูลใช้ MySQL 5.7.27 และ SSL ในการ encrypt ข้อมูล มีระบบ back-up server ใช้ Google drive unlimited ในการศึกษาครั้งนี้ พัฒนาภายใต้กรอบของวงจรชีวิตในการพัฒนาซอฟท์แวร์ มี 6 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ การวิเคราะห์ปัญหา ความต้องการของผู้ใช้ การวิเคราะห์และออกแบบระบบ การพัฒนาแพลตฟอร์ม การทดสอบระบบ การใช้งานระบบ และการบำรุงรักษาระบบ ส่วนรักษาความปลอดภัยข้อมูลเป็น C I A  คือการรักษาความลับ (Confidentiality) ความถูกต้อง (Integrity) และความ สามารถพร้อมใช้ (Availability) ผลการศึกษาความต้องการของผู้ใช้ จากการสนทนากลุ่ม (focus group) จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 คน เพศหญิง 65 คน เพศชาย 55 คน อายุ 25 – 35 ปี จำนวน 75 คน และอายุ 36 – 50 ปี จำนวน 45 คน เป็นเจ้าของกิจการ 30 คน เป็นพนักงานบริษัทเอกชน 89 คน และ รับราชการ 1 คน พบว่า กลุ่มที่เหมาะสมกับระบบประกันเฉพาะบุคคล คือ กลุ่มที่มีรายได้มากกว่า 80,000 บาทร้อยละ 95.7 ส่วนตัวแทนประกันชีวิต สนใจประชีวิตเฉพาะบุคคลร้อยละ 97.1 ประกันสุขภาพร้อยละ 88.2 วางแผนเกษียณร้อยละ 73.5 แผนการศึกษาบุตรร้อยละ 55.9 ผลการทดสอบระบบ เมื่อลูกค้า กรอกข้อมูล อายุ เพศ รายได้ จำนวนบุตร อายุบุตร จำนวนเงินที่ต้องจ่าย จำนวนปีที่จ่าย และจำนวนเงินหลังเสียชีวิต แพลตฟอร์มจะแสดงแบบประกันเฉพาะบุคคล ซึ่งลูกค้าปรับเปลี่ยนได้ทุกหัวข้อ เมื่อตัดสินใจซื้อ แพลตฟอร์มจะแสดงช่องทางการชำระเงิน prompt pay โอนผ่านธนาคาร QR code หรือ บัตรเครดิต เมื่อชำระเงินและแพลตฟอร์มยืนยัน ลูกค้าจะได้กรมธรรม์โดยอัตโนมัติผ่านอีเมลล์ หรือพิมพ์จากระบบ กรมธรรม์มีผลบังคับใช้ทันที ยังมีระบบแจ้งเตือนในการจ่ายเงิน และการเคลมต่างๆ จากการประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจของแพลตฟอร์มจากลูกค้า 32 คน พบว่า ลูกค้าพอใจกับการใช้งานง่ายสูงสุด ค่าเฉลี่ย 4.34 รองลงมา แพลตฟอร์มให้ข้อมูลถูกต้องครบถ้วน ค่าเฉลี่ย 4.25 และแบบประกันสอดคล้องกับความต้องการ ค่าเฉลี่ย 4.20  สรุปผลประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจแพลตฟอร์ม โดยรวมเฉลี่ย 4.26

References

[1] กฤษฎา เสกตระกูล, 2553, “การวางแผนการเงินส่วนบุคคล”, วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม 2553.
[2] DIGITAL VENTURES, 2560. “ประกันภัยยุค Digital กับการเปลี่ยนแปลงทั้ง Value Chain ด้วยเทคโนโลยี” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://dv.co.th/blog-th/digitizing-Ins-Chain/ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562
[3] สายชล สินสมบูรณ์ทอง, 2660. “สถิติประกันชีวิต (Actuarial Statistics)” กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักส์, 2560
[4] Rehan Akbar และ Sohail Safdar, 2556.“A short review of Global Software Development (GSD)”, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.researchgate.net/publication/283872705_ A_short_review_of_Global_Software_Development_GSD เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2563
[5] ธนาวัฒน์ สิริวัฒน์ธนกุล,2560. “รู้มั้ยว่ามืออาชีพเขาวางแผนการเงินกันอย่างไร” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.thaipfa.co.th/article/view/33/รู้มั้ยว่ามืออาชีพเขาวางแผนการเงินกันอย่างไร เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563
[6] Techsauce Team, 2561. “Sunday ร่วมมือกับ AWS รุกตลาด InsurTech ด้วย Cloud Computing และ Machine Learning” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://techsauce.co/news/sunday-partners-aws-with-cloud-computing-and-machine-learning. เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563
[7] Just222, 2562. “ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น เปิด 2 แพลตฟอร์มประกันอัจฉริยะพร้อมบุกตลาดประกันชีวิตอย่างเต็มรูปแบบ” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://marketeeronline.co/archives/135813 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563

เผยแพร่แล้ว

07/30/2021