การวิจัยและวิเคราะห์กระบวนการผลิตชาเพื่อหาความสูญเปล่าในกระบวนผลิตชาอู่หลง เบอร์ 12 เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต กรณีศึกษา : โรงงานแปรรูปชาขุนแม่วาก ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อลงกรณ์ งานดี

คำสำคัญ:

กระบวนการผลิตชาอู่หลงเบอร์ 12, โรงงานชาขุนแม่วาก, ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง

บทคัดย่อ

มูลนิธิโครงการหลวงได้ส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมให้กับชุมชนในพื้นที่สูง ทำให้ชุมชนมีรายได้จากการปลูกชาจีนและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ส่งผลให้ชุมชนมีการประกอบอาชีพปลูกชาจีนมากขึ้นเนื่องจากมีการบำรุงชาในแปลงที่ไม่ซับซ้อน ทางมูลนิธิโครงการหลวงจึงเล็งเห็นการสร้างมูลค่าเพิ่มของชาจีน โดยการสร้างโรงงานชาจีนขุนแม่วากเพื่อรองรับวัตถุดิบ ผลิต 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ชาอู่หลง ชาเขียว ชาแดง โดยชาอู่หลงจะมีได้รับความนิยมจากท้องตลาดมากที่สุด ราคาขาย กิโลกรัม ละ 1200 บาท จากราคารับซื้อใบชาสดจากสมาชิกเกษตรกร กิโลกรัมละ 80 บาทเนื่องจากการผลิตชาอู่หลงมีขั้นตอนกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนจึงต้องใช้ผู้มีประสบการณ์เฉพาะทางในการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด โดยผู้มีประสบการณ์เฉพาะทางกำลังอยู่ในช่วงสูงวัย และเกษตรรุ่นใหม่ไม่นิยมปลูกชาและไม่สนใจการผลิตชาเพราะขั้นตอนการผลิตที่ซับซ้อนและใช้เวลาผลิตนานมากกว่า 30 ชั่วโมง ซึ่งในงานวิจัยชิ้นนี้มีเป้าหมายเพื่อเก็บขั้นตอนกระบวนผลิตชาอู่หลง Work In Process เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลและทำการวิเคราะห์หาความสูญเปล่าในกระบวนผลิตเพื่อทำการพัฒนากระบวนการผลิต  ซึ่งในงานวิจัยชิ้นนี้ได้เก็บข้อมูลขั้นตอนกระบวนการผลิตชาอู่หลงเบอร์ 12 ให้เป็นมาตรฐานการผลิต และขยายผลสู่โรงงานชาทั้ง 4 แห่ง ของมูลนิธิโครงการหลวง จากผลการดำเนินงานที่มา ได้ทำการปรับปรุงแผนผังโรงงาน Plan Lay Out ของโรงงานชาขุนแม่วาก จากเดิมมีระยะขนส่งภายในกระบวนผลิตชาภายในโรงงานชา 1,423เมตร ลดลงเหลือ 1366 เมตร ต่อรอบการผลิต ซึ่งสามารถลดความเมื่อย และเวลาของการผลิตลดลง และได้ทำควบคู่กับการซ่อมเครื่องจักรภายในโรงงานซึ่งสามารถลดความเมื่อยล้าได้ ร้อยละ 11 ลดเวลาการรอคอยได้ 2 ชั่วโมง สามารถลดค่าแรงล่วงเวลาต่อรอบการผลิต 248 บาท คิดต่อปีคือ 248X275วัน เท่ากับ 78,100 บาท ต่อปี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/15/2020