การวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในมะไฟจีน

ผู้แต่ง

  • สุภาวดี ศรีแย้ม

คำสำคัญ:

มะไฟจีน, สารประกอบฟีนอลิก, สารต้านอนุมูลอิสระ

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของมะไฟจีน (Clausena lansium (Lour.) Skeels) โดยทำการแยกและสกัดสารในตัวอย่างของมะไฟจีน ด้วยตัวทำละลายเอทานอล และน้ำ นำมาศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด โดยวิธี Folin-ciocalteu และศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) redical scavenging activity, 2,2’-azino-bis,3-ethylbenz thiazoline-6-sulphonic acid (ABTS) radical cation decolorization assay และ ferric ion reducing antioxidant power (FRAP) assay จากผลการศึกษา พบว่า ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดจากเปลือกมะไฟจีนที่สกัดด้วยน้ำมีปริมาณมากที่สุด มีค่าเท่ากับ 61.954 ± 0.896 mg gallic acid equivalent (GAE) / g extract นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH, ABTS และ FRAP พบว่า สารสกัดจากเปลือกมะไฟจีนที่สกัดด้วยน้ำให้ค่าฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่สูงสุดเช่นกัน เมื่อเทียบกับสารสกัดจากตัวอย่างส่วนอื่นของมะไฟจีน มีค่าเท่ากับ 23.738 ± 0.090, 284.788 ± 21.990 และ 157.508 ± 10.634 mg trolox equivalent (TE) / g extract ตามลำดับ จากผลการศึกษาครั้งนี้พบว่าเมล็ดมะไฟจีนซึ่งเป็นส่วนเหลือทิ้งในกระบวนการแปรรูปอาหาร สามารถตรวจวิเคราะห์พบปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและสารต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ในเมล็ดมะไฟจีนยังมีสารสำคัญและอาจนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอื่นต่อไปได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/01/2020