การพัฒนากระบวนการเพิ่มความคงทนของไม้ไผ่ สำหรับงานโครงสร้าง
คำสำคัญ:
ไม้ไผ่, ความคงทน, กำลังดึง, กำลังอัด, งานโครงสร้างบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเพิ่มความคงทนของไม้ไผ่สำหรับงานโครงสร้างโดยวิธีการใช้สารเคมี ได้แก่ การแช่น้ำยาบอริกบอแรกซ์และการแช่น้ำยาซีซีบี ที่ความเข้มข้น 3, 5 และ 8% เป็นเวลา 14 วัน และวิธีที่ไม่ใช้สารเคมี ได้แก่ การแช่น้ำและการย่างไฟ เพื่อศึกษาสมบัติด้าน กำลังดึง กำลังอัด และสมบัติทางกายภาพของไม้ไผ่ 3 ชนิด ได้แก่ ไม้ไผ่ซาง ไม้ไผ่รวก และไม้ไผ่สีสุกที่ผ่านกระบวนการเพิ่มความคงทน โดยเปรียบเทียบผลกับไม้ไผ่ที่ไม่ผ่านกระบวนการเพิ่มความคงทน จากผลการทดสอบพบว่า กำลังดึงและกำลังอัดของไม้ไผ่ที่ผ่านกระบวนการเพิ่มความคงทนโดยใช้สารเคมี มีแตกต่างกันตามชนิดของไม้ไผ่ ชนิดและความเข้มข้นของสารเคมีที่ใช้ เมื่อควบคุมความชื้นของไม้ไผ่ให้ต่ำกว่า 20% พบว่า ไม้ไผ่รวกแช่น้ำยาบอริกบอแรกซ์ 5% ไม้ไผ่ซางและไม้ไผ่สีสุกแช่น้ำยาซีซีบี 3% มีกำลังดึงสูงกว่าไม้ไผ่ชนิดเดียวกันที่แช่น้ำและไม้ไผ่ที่ไม่ผ่านกระบวนการฯ คือ มีค่า 986, 1723 และ 1757 กก./ตร.ซม. ตามลำดับ สำหรับผลการทดสอบกำลังอัด พบว่า ไม้ไผ่รวกแช่น้ำยาบอริกบอแรกซ์ 8% ไม้ไผ่สีสุกแช่น้ำยาซีซีบี 5% และไม้ไผ่ซางแช่น้ำยาซีซีบี 8% มีกำลังอัดสูงกว่าไม้ไผ่ชนิดเดียวกันที่แช่น้ำและไม้ไผ่ที่ไม่ผ่านกระบวนการ คือ มีค่า 429, 525 และ 837 กก./ตร.ซม. ตามลำดับ และพบว่าไม้ไผ่ซางที่ผ่านการย่างไฟ มีกำลังดึงสูงสุดที่ 2,072 กก./ตร.ซม. และไม้ไผ่รวกที่ผ่านการย่างไฟมีกำลังอัดสูงสุดที่ 592 กก./ตร.ซม. และจากผลการศึกษาสมบัติทางกายภาพของไม้ไผ่ภายหลังจากการเก็บเป็นเวลา 3 เดือน พบว่าไม่ปรากฏเชื้อราบนเนื้อไม้ แต่พบการทำลายของแมลงในไม้ไผ่ซาง ไม้ไผ่รวก และไม้ไผ่สีสุกที่ไม่ผ่านกระบวนการ รวมถึงไม้ไผ่สีสุกที่ผ่านการแช่น้ำ นอกจากนี้ ผลการตรวจสอบสัณฐานวิทยาของไม้ไผ่ด้วยเครื่อง SEM และการวิเคราะห์ธาตุด้วยเครื่อง EDX พบว่าความสามารถในการดูดซึมและการเกาะติดสารเคมีของไม้ไผ่แต่ละชนิดมีแตกต่างกัน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและค่าสะกดต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรม ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือเป็นมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด