การควบคุมอุณหภูมิและระบบการให้น้ำในโรงเรือนอัตโนมัติด้วยพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์

ผู้แต่ง

  • วิชัย นระมาตย์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

พลังงานแสงอาทิตย์, ระบบควบคุมอัตโนมัติ, ระบบโรงเรือน

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการนำเสนอ การควบคุมอุณหภูมิและระบบการให้น้ำในโรงเรือนอัตโนมัติด้วยพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ ในการควบคุมอุณหภูมิและการให้น้ำในโรงเรือนอัตโนมัติ โดยมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อออกแบบและสร้างระบบพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ ในการควบคุมอุณหภูมิและการให้น้ำในโรงเรือนอัตโนมัติ 2.เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการทำงาน 3.เพื่อหาค่าความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ใช้งานจริงต่อระบบ การทำงานของระบบควบคุมจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ  1.ระบบตั้งเวลา 2.ระบบเปิด – ปิด ด้วยสวิตช์ สำหรับควบคุมการทำงานของโซลีนอย์วาล์วไฟฟ้า 24 V เพื่อการให้น้ำด้วยการพ่นหมอกและสปริงเกอร์ ในโรงเรือน ขนาด 3x6x21 เมตร ของ นายอลงกรณ์ บุญสังข์ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้ขนาด 300 วัตต์ ประสิทธิภาพสูงสุด 6 ชั่วโมง แรงสูงสุด39 โวลล์ กระแส 9.5 แอมป์ การทำงานของระบบพ่นหมอกสามารถปรับอุณหภูมิภายในโรงเรือน 3-5 องศา ภายใน 7-10 นาที ระบบปริงเกอร์สามารถทำงานได้ทั้งรระบบตั้งเวลาและระบบเปิด – ปิด ด้วยสวิตช์ ทำให้เกษตรกรจัดตารางการทำงานได้ลดเวลาการอยู่ในโรงเรือนให้ลดลง 2-3 ชั่วโมงต่อวัน เกษตรกรบริหารจัดการเวลาในการทำกิจกรรมอื่นได้ ความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ใช้งานที่มีต่อระบบ อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย 4.42 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. 0.55)

References

ขจรศักดิ์ พงศ์ธนา,ชัยวัฒน์ สากุล.(2562).โรงเรือนแบบไฮโดรโปนิกส์ที่มีระบบการควบคุมแบบอัตโนมัติโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์.วารสารราชมงคลกรุงเทพ,12(3),65-77.
ศูนย์ข้อมูลและการคาดการณ์เทคโนโลยี,สานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี. 2556.ข้อมูลสังคมและเศรษฐกิจ จังหวัดสุพรรณบุรี. หน้า 1-54.
ชัชนันท์ ถนอมวรสิน.(2562).ปัจจัยและผลลัพธ์ของการนำระบบสูบน้ำบาดาลด้วยโซล่าเซลล์มาใช้ในการเกษตร.วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์,7(6),1677-1687.
ชาญชยั ศกั ด์ิศิริโสภณ.(2555).การใช้พลังงานทดแทนที่เหมาะสมในภาคการเกษตรในจังหวัดยโสธร.การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่2,1-10.
ปรีชา มหาไม้.(2557).ระบบให้น้ำแบบอัตโนมัติใช้เซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตามดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงาน.วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร,8(2).
พิสุทธา อารีราษฎร์.(2458).การพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้โดยอาศัยคอมพิวเตอร์.วิทยานิพนธ์ ปรด.(คอมพิวเตอร์) กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ธนากร น้ำหอมจันทร์.(2557). ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนเพาะปลูกพืชไร้ดินแบบทำความเย็นด้วยวิธีการระเหยของน้ำร่วมกับการสเปรย์ละอองน้ำแบบอัตโนมัติ โดยใช้ระบบควบคุมเชิงตรรกะแบบโปรแกรมได้, EAU Heritage Journal Science
and Technology, Vol. 8 No. 1 January-June 2014, น.98-111

เผยแพร่แล้ว

07/30/2021