คุณลักษณะการเจริญเติบโตของแบคทีเรียผลิตกรดแอซีติกในน้ำมะพร้าวและน้ำสับปะรด

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ ปาพันธ์ คณะวิทยาศาศตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

คำสำคัญ:

แบคทีเรียผลิตกรดแอซีติก, น้ำส้มสายชู, กล้าเชื้อ, น้ำมะพร้าว, น้ำสับปะรด

บทคัดย่อ

แบคทีเรียผลิตกรดแอซีติกเป็นแบคทีเรียที่มีบทบาทสำคัญเนื่องจากคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารใช้ในการผลิตน้ำส้มสายชู ทำให้การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับแบคทีเรียผลิตกรดแอซีติกมีเพิ่มมากขึ้นในกระบวนการหมักอาหารหมักหลายประเภท การเตรียมกล้าเชื้อจุลินทรีย์ให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้ในการผลิตอาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ งานวิจัยนี้ ศึกษาคุณลักษณะการเจริญเติบโตของแบคทีเรียผลิตกรดแอซีติกจำนวน 2 สายพันธุ์ ในซับสเสตรตน้ำมะพร้าวและน้ำสับปะรดเพื่อเป็นกล้าเชื้อในการหมักน้ำส้มสายชู ผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณแบคทีเรียผลิตกรดแอซีติกพบว่า น้ำมะพร้าวและน้ำสับปะรดสามารถนำไปใช้เพาะเลี้ยงแบคทีเรียผลิตกรดแอซีติก Acetobacter pasteurionus สายพันธุ์ HB และ TK โดยมีจำนวนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 6.10-8.68 CFU/mL ผลการศึกษาที่ได้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของชนิดซับสเตรตต่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางเคมีและจุลินทรีย์ในระหว่างการเจริญของแบคทีเรียผลิตกรดแอซีติก โดยสามารถสรุปได้ว่า น้ำมะพร้าวและน้ำสับปะรดสามารถนำไปใช้แหล่งซับสเตรตธรรมชาติที่มีศักยภาพในการเพาะเลี้ยงแบคทีเรียผลิตกรดแอซีติกเพื่อการเก็บรักษากล้าเชื้อแบคทีเรียสำหรับผลิตน้ำส้มสายชูได้

References

นิอร โฉมศรี ณัฐวุฒิ คำป๊อก และสุพจนี อินทรโมฬี.
2558. การเสริมน้ำสับปะรดเพื่อเป็นสับสเตรทร่วมในการหมักน้ำส้มสายชูแอปริคอต. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 33 (ฉบับพิเศษ 1): 105-111.
ประมวล ทรายทอง. 2554. บทบาทของแบคทีเรียกรด
อะซิติกในอุตสาหกรรมอาหาร. ธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหาร. ปที่ 41 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2554.
Gullo, M., E. Verzelloni and M. Canonico. 2014.
Aerobic submerged fermentation by acetic acid bacteria for vinegar production: process and biotechnological aspects. Process Biochemistry. 49: 1571-1579.
Kim, D.H., J.W. Chon., H. Kim and K.H. Seo. 2019.
Development of a novel selective medium for the isolation and enumeration of acetic acid bacteria from various foods. Food Control. 106: 106767.

Kirk, R. and Sawyer, R. 1991. Pearson’s
composition and analysis of foods. Longman Scientific & Technical. Harlow Essex England. 708 p.
Tang, N., H. Liang., J. Song., W. Lin and L. Luo.
2019. Comparison of microbial community and metabolites in spontaneous fermentation of two types Daqu starter for traditional Chinese vinegar production. Bioscience and Bioengineering. 3: 307-315.
Leones, A., E.D. Guerrero., M.Carbu., J.M.Cantoral.,
C.G. Barroso and R.Castro. 2019. Development of vinegar obtained from lemon juice: Optimization and chemical characterization of the process. LWT – Food Science and Technology. 100: 314-321.
Roda, A., L. Lucini., F. Torchio., R. Dordoni and
D.M.D. Faveri. 2017. Metabolite profiling and volatiles of pineapple wine and vinegar obtained from pineapple waste. Food Chemistry. 299: 734-742.
Ua-Arak,T., F. Jakob and R.F. Vogel. 2016.
Characterization of growth and exopolysaccharide production of selected acetic acid bacteria in buckwheat sourdoughs. International Journal of Food Microbiology. 239: 103-112.
Xia, T., B. Zhang., W. Duan., J. Zang and M. Wang.
2020. Nutrients and bioactive components from vinegar: A fermented and functional food. Journal of Functional Foods. 64.

เผยแพร่แล้ว

07/23/2021