การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากขยะเทศบาลด้วยระบบวัฏจักรแรงคินสารอินทรีย์

ผู้แต่ง

  • เนตรชนากานต์ สุนันตา
  • เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล

คำสำคัญ:

การประเมินวัฏจักรชีวิต, การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก, ระบบวัฏจักรแรงคินสารอินทรีย์, Life Cycle Assessment, Greenhouse Gases Evaluation, Organic Rankine Cycle, Municipal Solid Waste, Carbon footprin ขยะเทศบาล, คาร์บอนฟุตพริ้นท์,

บทคัดย่อ

การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและการเติบโตของเศรษฐกิจส่งผลให้ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกิดเป็นวิกฤตปัญหาขยะ ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถจัดการขยะได้ทัน ด้วยพื้นที่ฝังกลบมีจำกัด ทำให้เกิดผลกระทบต่างๆ ตามมา อีกทั้งยังส่งผลให้ก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming) ที่กำลังสร้างความเสียหายและเป็นภัยต่อมนุษย์มากที่สุดในปัจจุบันเพิ่มขึ้นอีกด้วย ดังนั้นเพื่อให้เกิดการจัดการขยะอย่างยั่งยืน การนำขยะมาใช้ประโยชน์โดยการนำมาผลิตไฟฟ้าจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นอกจากจะแก้ไขปัญหาขยะล้นเมืองแล้วยังสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก และลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศได้อีกด้วย งานวิจัยนี้จึงได้นำหลักการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment) มาใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากขยะเทศบาลด้วยระบบวัฏจักรแรงคินสารอินทรีย์ จากการศึกษาพบว่าการผลิตไฟฟ้าจากขยะเทศบาลด้วยระบบวัฏจักรแรงคินสารอินทรีย์ขนาด 1 kWh
ตลอดวัฏจักรชีวิตมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เท่ากับ 0.93 kgCO2eq. เทียบเท่าสามารถช่วยลดปริมาณขยะที่นำไปฝังกลบได้ถึงร้อยละ30 และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ถึงร้อยละ 51.47 เมื่อเทียบกับการจัดการขยะด้วยวิธีการเทกองและร้อยละ 34.31 เมื่อเทียบกับการจัดการขยะด้วยวิธีการฝังกลบ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/01/2017