กระบวนการผลิตไบโอดีเซลจากกรดไขมันปาล์มแบบหมุนวนด้วยท่อผสมสถิตชนิดขดเกลียว

ผู้แต่ง

  • ทนงศักดิ์ ประสิทธิ์
  • กฤช สมนึก

คำสำคัญ:

ไบโอดีเซล, กรดไขมันปาล์ม, ท่อผสมชนิดขดเกลียว, ปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน, biodiesel, palm fatty acid distillate, helical static mixer, esterification reaction

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้นำกรดไขมันปาล์ม (Palm Fatty Acid Distillate, PFAD) ที่มีค่าความเป็นกรดสูงมาเป็นวัตถุดิบหลักในกระบวนการผลิตไบโอดีเซลจากกรดไขมันปาล์มแบบหมุนวนด้วยท่อผสมแบบสถิตชนิดขดเกลียวกรดไขมันปาล์มเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์จากน้ำมันปาล์มดิบซึ่งมีราคาถูกและไม่ได้ถูกนำมาใช้ผลิตอาหาร อุปกรณ์ที่สำคัญที่นำมาใช้ในงานวิจัยนี้ คือ ท่อผสมแบบสถิตชนิดขดเกลียวเพื่อประยุกต์ใช้กับปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชันด้วยตัวเร่งปฏิกิริยากรด โดยมีตัวแปรที่ศึกษาคือ ปริมาณเมทานอล (ร้อยละ 60 wt, 80 wt และ 100 wt) ปริมาณกรดซัลฟิวริก (ร้อยละ 5 wt, 10 wt และ 15 wt) และเวลาในการทำปฏิกิริยา (10-90 min) ที่อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยา 60ºC จากผลการทดลองพบว่า ปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชันสามารถลดค่าความเป็นกรดของกรดไขมันปาล์มจาก 265 mgKOH.g-1 ให้มีค่าน้อยกว่า 1.97 mgKOH.g-1 ด้วยท่อผสมแบบสถิตชนิดขดเกลียวที่เงื่อนไขแนะนำ คือ ปริมาณเมทานอลร้อยละ 100 wt ปริมาณกรดซัลฟิวริกร้อยละ 15 wt และเวลาทำปฏิกิริยา 20 min ดังนั้นท่อผสมแบบสถิตชนิดขดเกลียวสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อในการผลิตไบโอดีเซลด้วยปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชันขั้นตอนเดียว

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/01/2017