การจัดการพลังงานชุมชนโดยบูรณาการหน่วยงานรัฐและการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน ตัวอย่างการใช้ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทติย์ในท้องถิ่น จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ปรีชา ศรีประภาคาร

คำสำคัญ:

การจัดการพลังงานชุมชน, การอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์, Energy management in communities, Solar drying system

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการจัดการพลังงานในชุมชนโดยใช้วิธีการบูรณาการหน่วยงานภาครัฐร่วมกับเทคโนโลยีพลังงานทดแทนระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ พบว่า มีหน่วยงานภาครัฐจำนวน 7 หน่วยงานที่ได้ร่วมกันทำงานโดยร่วมกันกำหนดกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและให้สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงานตัวเอง รวมไปถึง  การประชุมเพื่อทำแผนการดำเนินงานร่วมกันขึ้น จากการดำเนินงานดังกล่าวชุมชนได้รับงบประมาณสนับสนุนการสร้างห้องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์มาจากกองทุนเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานโดยห้องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์มีขนาดพื้นที่ 48 m2 สามารถอบผลิตภัณฑ์ได้ 4,500 kg/วัน ระยะเวลาในการอบแห้ง 8h จากการทดสอบที่ค่ารังสีแสงอาทิตย์รวมเฉลี่ย 692 W/m2อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมเฉลี่ย 35 ºC อุณหภูมิห้องเฉลี่ยอยู่ที่ 44.2 ºC ได้ค่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนร้อยละ 12 คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ 66,000 บาท/ปี ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐศาสตร์เป็นระยะเวลาคืนทุน 7.2 ปี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/01/2017