พฤติกรรมการใช้บริการและคุณภาพการให้บริการรถเคลื่อนที่ของธนาคารออมสิน “เขตพื้นที่อำเภอบางปะอินและอำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”
คำสำคัญ:
คุณภาพการให้บริการ, การบริการรถเคลื่อนที่, พฤติกรรมการใช้บริการบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการและคุณภาพการให้บริการรถเคลื่อนที่ของธนาคารออมสิน“เขตพื้นที่อำเภอบางปะอินและอำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” มีกลุ่มเป้าหมาย คือ ลูกค้าที่มาใช้บริการรถเคลื่อนที่ของธนาคารออมสิน จำนวน 140 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และใช้การวิเคราะห์สถิตเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการใช้บริการโดยรวมแล้วอยู่ในเกณฑ์ดี แต่มีการพิจารณารายด้านแล้วพบว่า ด้านประเภทของการบริการ ส่วนใหญ่คนที่มาใช้บริการรถเคลื่อนที่ของธนาคารออมสินจะมาบริการฝาก – ถอน ด้านความถี่ของการมาใช้บริการรถเคลื่อนที่ของธนาคารออมสินจะมาใช้บริการเดือนละ 1 ครั้ง วันที่มาใช้บริการ ส่วนใหญ่คนที่มาใช้บริการรถเคลื่อนที่ของธนาคารออมสินจะมาใช้กันวันจันทร์ และช่วงเวลาที่มาใช้บริการ ส่วนใหญ่คนที่มาใช้บริการรถเคลื่อนที่ของธนาคารออมสินจะมาใช้ในช่วงเวลาในระหว่าง 9.00 – 12.00 น. คุณภาพการใช้บริการรถเคลื่อนที่ของธนาคารออมสินอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้ง 5 ด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการให้บริการและพฤติกรรมการใช้บริการรถเคลื่อนที่ของธนาคารออมสิน ไม่มีความสัมพันธ์กันทั้ง 5 ด้าน
References
2.ชลธิชา ศรีบำรุง.(2557).คุณภาพการให้บริการของธนาคารกรุงเทพ สาขาดอนหัวฬ่อ จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยบูรพา.
3.ปกป้อง ปันปวง.(2556).ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถเคลื่อนที่ธนาคารออมสินในจังหวัดลำปาง การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น.
4.ภาวิตา ธิรามนต์.(2559). การเพิ่มประสิทธิภาพการเลือกสถานที่จุดจอดให้บริการรถตู้เคลื่อนที่ (Mobile Unit) ของธนาคารออมสิน ภาค 1 วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
5.สุรคุณ คณุสัตยานนท์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการคาร์แคร์ของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
6.สุรางคนา ภัทรเมฆินทร์. (2556). การศึกษา SERVQUAL Model กับคุณภาพการบริการของธนาคารไทยพาณิชย์ กรณีศึกษาธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน)ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก.(สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์) มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก.
7.Lemeshow, S., Hosmer, D., Klar, J., &Lwanga, S. (1990). Adequacy of sample size in health studies.Chichester, England : John Wiley & Sons Ltd.
8.Zeithaml, V. A., Parasuraman, and L. L., Berry.(1990). Delivering Quality Service : Balancing Customer Perceptions. New York : The Free Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง