การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ ในจังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • คทาวุธ ชาติศักดิ์ยุทธ สาขาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • วัชราภรณ์ บุญยรักษ์ สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์, ทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ในจังหวัดอุตรดิตถ์2) เพื่อเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หลังได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ ในจังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่2/3  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2560 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จำนวน 56 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ในจังหวัดอุตรดิตถ์ และแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หลังได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ ในจังหวัดอุตรดิตถ์

          ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

  1. ผลการสร้างชุดกิจกรมสร้างสรรค์   พัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย  มี 4 หน่วยการเรียนรู้  ใช้เวลาเรียนทั้งหมด  12  คาบ  ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้ประเมินความเหมาะสมระหว่างจุดประสงค์การเรียนรู้  เนื้อหา  กิจกรรมการเรียนรู้  สื่อ  การวัดผลและประเมินผล   ผลปรากฏว่าการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบต่าง ๆ ของชุดกิจกรรมสร้างสรรค์  มีความเหมาะสมมาก  โดยมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 4.27  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48 
  2. ผลการทดลองและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ พัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย พบว่า ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพ 93.13/92.59 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 ที่ตั้งไว้ และเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
  3. คะแนนทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ ในจังหวัดอุตรดิตถ์หลังได้รับการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. (2540). หลักสูตรก่อนประถมศึกษาพุทธศักราช 2540.
กรุงเทพฯ : คุรุสภา.
กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.(2546). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546.
กรุงเทพฯ : คุรุสภา.
กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560.
กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
เกียรติสุดา ศรีสุข.(2552). ระเบียบวิธีวิจัย.(พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่ : ครองช่างพริ้นติ้ง.
ขวัญนุช บุญยู่ฮง. (2546).การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการเล่า
“นิทานคณิต”. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ :บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว. (2550). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้
รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จิตทนาวรรณ เดือนฉาย. (2541).ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด.
กิจกรรมศิลปะวาดภาพนอกห้องเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์.2556.การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน, วารสารศิลปากร
ศึกษาศาสตร์วิจัย.2556(1),9.
ธงชัย ตันทัพไทย. (2548). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และค่านิยมการบริโภค
อาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สอนโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้
ทางวิทยาศาสตร์. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ ประสานมิตร.
ประจักษ์ อเนกฤทธิ์มงคล. (2559). การพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ของเด็กระดับปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2549). การสร้างและวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือสำหรับการวิจัย.
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
วราภรณ์ นาคะศิริ. (2546). การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะ
สร้างสรรค์โดยใช้ทรายสี. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ :
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-12-2020