แนวทางพัฒนาการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของสถานศึกษาในกลุ่มคลองน้ำไหล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 2

ผู้แต่ง

  • ไพบูลย์ วงค์เมืองคำ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล

คำสำคัญ:

การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการเรียนรู้, สถานศึกษาในกลุ่มคลองน้ำไหล, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 2

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางพัฒนาการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของสถานศึกษาในกลุ่มคลองน้ำไหล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 2 ประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้ใช้งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียน จำนวน 128 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการจัดลำดับความสำคัญ

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของสถานศึกษาในกลุ่มคลองน้ำไหล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงอันดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย  ดังนี้ ด้านกระบวนการเรียนรู้ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอน ส่วนอันดับสุดท้าย คือ ด้านทรัพยากรการเรียนรู้
  1. ปัญหาการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ของสถานศึกษาในกลุ่มคลองน้ำไหล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 โดยรวมพบว่า ด้านทรัพยากรการเรียนรู้ มีปัญหามากที่สุด รองลงมาเป็นด้านการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา และด้านการจัดการเรียนการสอน
  2. แนวทางพัฒนาการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของสถานศึกษาในกลุ่มคลองน้ำไหล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 2 ด้านการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา ควรวางแผนให้มีการประสานและประชาสัมพันธ์เครือข่ายจากชุมชน องค์กรภาครัฐ และเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนด้าน ICT ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ควรจัดหาซอฟต์แวร์ที่จําเป็นสําหรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ด้านการจัดการเรียนการสอน ควรส่งเสริมและสนับสนุน ให้ครูสามารถใช้ ICT เป็นเครื่องมือในการออกแบบ และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านกระบวนการเรียนรู้ ควรวางแผนให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการใช้ ICT เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และได้ทํากิจกรรมต่าง ๆ โดยใช้ ICT ตามความสนใจของผู้เรียน ด้านทรัพยากรการเรียนรู้ควรวางแผนให้มีการจัดรวบรวมสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอนด้วย ICT อย่างเป็นระบบ/จัดเป็นคลัง/แหล่งเรียนรู้ ศูนย์สื่อ ICT หรือห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-Library) ฯลฯ ตามศักยภาพของสถานศึกษา

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ.2554 – 2563 ของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

คมกริช ไชยทองศรี. (2561). การบริหารจัดการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในโรงเรียนต้นแบบ ICT เพื่อการเรียนรู้ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน: พหุกรณีศึกษา. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการภาวะผู้นำทางการบริหารจัดการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ทรงชัย โอฬาริกพงศ์, มนูญ ศิวารมย์ และรัชนิวรรณ อนุตระกูลชัย. (2560). กลยุทธ์การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต1. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์,11(3), 64-65.

ทิศนา แขมมณี. (2542). การแก้ความขัดแย้ง. ในประมวลบทความทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองการพิมพ์.

นิทัศน์ กลัดแก้ว. (2559). การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

พรนับพัน หรรษา. (2560). การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนในเขตเทศบาลตำบลบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.

พิรดา มาลาม. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศันสนีย์ พรมพินิจ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนโพธิ์สัมพันธ์พิทยาคาร สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ. (2545). การดําเนินงานตามยุทธศาสตรปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพองคการรับสงสินคาและพัสดุภัณฑ์ .

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (29 ธันวาคม 2559). ประกาศ เรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560–2564).

สุวดี เสนีย์วงค์ ณ อยุธยา. (2560). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานสถานศึกษาต้นแบบ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers. (pp.202-204).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-08-2020