ความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติการข้อมูลข่าวสารกับการคาดคะเนผลกระทบเชิงเศรษฐกิจในยุคดิจิทัลของประชาชนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วรินทร์ พูลผล
  • ธันย์พัทธ์ ใคร้วานิช dr.

คำสำคัญ:

การปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร, การคาดคะเนเชิงเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล, ความถดถอยโลจิสติกแบบเรียงอันดับ

บทคัดย่อ

          การศึกษาเรื่องความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติการข้อมูลข่าวสารกับการคาดคะเนผลกระทบเชิงเศรษฐกิจในยุคดิจิทัลของประชาชนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อการคาดคะเนผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ และศึกษาผลกระทบของความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร (Information Operations: IO) ที่มีผลต่อการคาดคะเนผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ การศึกษานี้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก (Convenience Sampling) จากกลุ่มประชากรไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป โดยได้ตัวอย่างมาทั้งหมด 1,250 คน ข้อมูลถูกเก็บโดยแบบสอบถามออนไลน์ และถูกนำไปวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกแบบเรียงลำดับ (Ordered Logistic Regression) ผลการวิจัยพบว่า ระดับการศึกษาและความรู้ความเข้าใจปฏิบัติการข้อมูลข่าวสารมีผลต่อการคาดคะเนผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ โดยการเพิ่มขึ้นของระดับการศึกษาจากปริญญาตรีเป็นปริญญาโทหรือสูงกว่าจะมีโอกาสส่งผลต่อการคาดคะเนผลกระทบเชิงเศรษฐกิจในทิศทางลบเพิ่มขึ้น และหากค่าคะแนนความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติการข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้เกิดการคาดคะเนในทิศทางลบเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน จากผลการทดลองที่ได้ทำให้มีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ โดยควรส่งเสริมให้ประชาชนมีการศึกษาพื้นฐานให้ครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การคาดคะเนผลกระทบด้านเศรษฐกิจมีความแม่นยำขึ้น อันเนื่องมาจากรู้เท่าทันข้อมูลข่าวลวงและนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้อย่ามีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลดีต่อนักลงทุนรายย่อยและผู้ประกอบการ ทำให้ผู้ลงทุนไม่เสียผลประโยชน์จากข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติการข้อมูลข่าว ซึ่งจะทำให้การลงทุนในประเทศมีความเจริญก้าวหน้า

References

ขจรฤทธิ์ นิลกําแหง. (2559). การปฏิบัติการข่าวสารกับความมั่นคงของชาติ, รัฏฐาภิรักษ์, 58(3), กันยายน–ธันวาคม 2559, หน้า 69–78.

วัชรินทร์ แก่นทอง, (2560). การปฏิบัติการข่าวสารภัยคุกคามที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของกองทัพไทย. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล. วิทยาลัยการทัพบก.

ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. (2559). การสื่อสารทางยุทธศาสตร์ (Strategic Communication: SC) และการปฏิบัติการข่าวสาร (Information Operations: IO) ของกองทัพไทย: แนวทางการดำเนินงานในอนาคต. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.

สรลักษณ์ พงษ์โพธิ์ และยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2564). รูปแบบการสื่อสารและแนวคิดการปฏิบัติการข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติด้านการเมืองผ่านสื่อออนไลน์, วารสารนิเทศศาสตร์, 39(1), มกราคม–เมษายน 2564, หน้า 121–137.

สัญญา เคณาภูมิ. (2562). แบบการนำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ, วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 3(3), กันยายน–ธันวาคม 2562, หน้า 103–126.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). จำนวนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามอายุ เพศ ภาค และจังหวัด ปี พ.ศ.2562, [ออนไลน์], แหล่งที่มาhttp://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx, เข้าดูเมื่อวันที่ 07/02/2564.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing, 5th edition. New York: Harper & Row.

IBM Knowledge Center. (2021). Pseudo r-Squared measures, [Online]. Available HTTP: https://www.ibm.com/support/knowledgecenter/en/SSLVMB_23.0.0/spss/tutorials/plum_germcr_rsquare.html, access on 10/02/2021.

Rahman, J. Zhang, J., & Dong, S. (2019). Factors affecting the accuracy of analyst's forecasts: A review of the literature, Academy of Accounting and Financial Studies Journal, vol. 23(3), June 2019, pp. 1–18.

Vaarmets, T., Liivamagi, K., & Talpsepp, T. (2019). How does learning and education help to overcome the disposition effect?. Review of Finance, vol. 23(4), July 2019, pp. 801–830.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis, 3rd edition. New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-12-2021