การพัฒนาระบบและกลไกการขับเคลื่อนการจัดการมาตรฐานคุณภาพทุเรียนหลง–หลินลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ : กรณีศึกษาตำบลบ้านด่านนาขาม

ผู้แต่ง

  • ภาศิริ เขตปิยรัตน์
  • สินีนาถ วิกรมประสิทธิ
  • สุกัญญา สุจาคำ
  • วิสุทธิ์ สุขบำรุง
  • กมลวรรณ มั่งคั่ง
  • ธนกร สิริสุคันธา
  • ปิยพงศ์ เขตปิยรัตน์

คำสำคัญ:

ระบบและกลไก, การจัดการ, มาตรฐานคุณภาพ, ทุเรียนหลง - หลินลับแล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาห่วงโซ่อุปทานของการจัดการมาตรฐานทุเรียนหลง–หลินลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์  2) การสร้างแนวทางการบริหารจัดการมาตรฐานทุเรียนหลง – หลินลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ และ 3) การขับเคลื่อนระบบการจัดการมาตรฐานทุเรียนหลง–หลินลับแล ไปใช้ประโยชน์กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจเกษตรทุเรียนหลง-หลินลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์โดยมีประชากร คือ สมาชิกชมรมคนรักทุเรียน และ ผู้ลงทะเบียนขายสินค้าตลาดริมทางถนนสาย 11 จำนวน 60 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก การวิจัยแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่มและการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า ห่วงโซ่อุปทานของการจัดการมาตรฐานทุเรียนหลง–หลินลับแล บ้านด่านนาขาม ประกอบด้วย การดำเนินงานของเกษตรกรใน 2 รูปแบบ คือ เกษตรกรรายเดี่ยวและรายกลุ่ม มีกระบวนการในการจัดการมาตรฐานทุเรียน โดยเน้นการผลิตทุเรียนที่มีคุณภาพ เพื่อนำเสนอทุเรียนคุณภาพจนถึงลูกค้าคนสุดท้าย โดยการสร้างแนวทางการบริหารจัดการมาตรฐานคุณภาพทุเรียนหลง–หลินลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มีการออกแบบกระบวนการของระบบการจัดการมาตรฐานคุณภาพทุเรียนหลงลับแล ได้แก่ 1) การวางแผนการดำเนินงาน และการสร้างระบบเพื่อให้แผนที่วางไว้บรรลุวัตถุประสงค์ 2) กระบวนการทำงาน คือ การร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้องในการกำหนดแนวทางการควบคุมคุณภาพทุเรียน การประเมินผลและการติดตามผลการปฏิบัติงาน 3) ได้ระบบและกลไกการควบคุมมาตรฐานคุณภาพทุเรียนหลงลับแล 4) นำต้นแบบการมีส่วนร่วมในการควบคุมมาตรฐานคุณภาพทุเรียนไปดำเนินการ 5) ผลกระทบที่เกิดขึ้น สามารถช่วยลดจำนวนข้อร้องเรียนจากลูกค้าอีกทั้ง รายได้เกษตรกร และผู้ขายทุเรียนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การขับเคลื่อนระบบการจัดการมาตรฐานทุเรียนหลง–หลินลับแล สามารถนำไปใช้ประโยชน์กับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในธุรกิจเกษตรทุเรียนหลง-หลิน ลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

References

เทพ เพียมะลัง. (2554). แนวทางบริหารจัดการสวนมะขามหวาน ตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสมของกลุ่มเกษตรในจังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ วท.ม. นครสวรรค์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์”

นพวรรณ บุญธรรม, สุรพล ดำรงกิตติกุล และไกรสีห์ พิสิษฐ์กุล. (2559). การพัฒนาระบบและกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค ของชุมชนรอบพื้นที่โรงงานไฟฟ้าแม่เมาะ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4(1), 60 – 74.

เนตร์พัฒฒนา ยาวิราช. (2560). การจัดการสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล.

ภาศิริ เขตปิยรัตน์ และคณะ. (2560). การศึกษาช่องทางการจัดหน่ายของธุรกิจเกษตรทุเรียนหลงลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติด้านบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "The 5th National & International Conference Business Administration 2017. “Digital Economy Thailand 4.0” วันที่9 - 10 มีนาคม 2560. ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่. 504-514.มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 3-2556. [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.acfs.go.th/ standard/download/DURIAN_new.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 25/3/2561.

เวิร์คพ้อยท์ทูเดย์. (2561). ผู้ว่าฯ อุตรดิตถ์ลุยตรวจร้านทุเรียนสั่งติดป้ายชัดเจน ต้องตรวจสอบได้. [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://workpointtoday.com/ สืบค้นเมื่อวันที่ 25/3/2561.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง. [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.nesdc.go.th/download/plan12/ สืบค้นเมื่อวันที่ 25/3/2561.

อารีย์ แผ้วสกุลพันธ์. (2553). องค์การและการบริหาร. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

Didonet, S. R. and Diaz, G. (2012). Supply Chain Management Practices as a Support to Innovation in SMEs. Journal of Technology management and Innovation. 7(3), p. 91 – 108.

Janvier-James, A. M. (2012). A New Introduction to Supply Chains and Supply Chain Management: Definitions and Theories Perspective. International Business Research. 5(1), p. 194-207.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-11-2020