กิจกรรมพื้นบ้านแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านใหม่เหล่ายาว ตำบลวิเชตนคร อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เพื่ออนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมผ่านวิถีการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
คำสำคัญ:
กิจกรรมพื้นบ้าน, แบบมีส่วนร่วม, การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ภูมิปัญญาพื้นบ้านแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านใหม่เหล่ายาว ตำบลวิเชตนคร อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง 2) จำแนกภูมิปัญญาพื้นบ้านผ่านกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านใหม่เหล่ายาว ตำบลวิเชตนคร อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง และ 3) เชื่อมโยงรูปแบบกิจกรรมพื้นบ้านแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านใหม่เหล่ายาว ตำบลวิเชตนคร อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เพื่ออนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมผ่านวิถีการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้สูงอายุ และคนในชุมชน จำนวน 35 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง ข้อมูลที่นำมาศึกษาครั้งนี้ได้จากการสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR)
ผลการวิจัย พบว่า ภูมิปัญญาพื้นบ้านของชุมชนบ้านใหม่เหล่ายาว ตำบลวิเชตนคร อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เป็นสิ่งที่ชาวบ้านในชุมชนได้คิดแล้วนำมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน การแก้ไขปัญหารวมถึงการสร้างขวัญและกำลังใจในการดำเนินชีวิต จนสะสมเป็นองค์ความรู้ทั้งหมดของชาวบ้านในชุมชน จำแนกเป็นภูมิปัญญาด้านศิลปะ ภูมิปัญญางานหัตถกรรม ภูมิปัญญาด้านสมุนไพรภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน ภูมิปัญญาด้านอาหาร ภูมิปัญญาด้านนาฏศิลป์ ดนตรี การแสดงพื้นบ้าน และภูมิปัญญาด้านพิธีกรรม และรูปแบบกิจกรรมพื้นบ้านแบบมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่ออนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมผ่านวิถีการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วย กิจกรรมท่องเที่ยววัดและโบราณสถานที่สำคัญของชุมชน การเข้าร่วมกิจกรรมตามปฏิทินประเพณี 12 เดือนของชุมชน และกิจกรรมฐานการเรียนรู้จากครูภูมิปัญญา
References
กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย. (2561). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนท่ามะโอ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 6 (1), 131-147.
เพ็ญจันทร์ สังข์แก้ว และคณะ. (2557). การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อการพึ่งตนเอง อย่างยั่งยืนของชุมชนบ้านเข็กน้อย ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
ทรงคุณ จันทรจร, พิสิฏฐ์ บุญไทย และไพรัช ดิตย์ผาด. (2552). คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท่องท้องถิ่นกับการนำมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ศิริรักษ์ จวงทอง และวิลาศ วุ่นแก้ว. (2558). การสำรวจสถานะองค์ความรู้และแนวทางการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสงขลา : กรณีศึกษาพื้นที่ชุมชนในตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
สามารถ จันทร์สูรย์. (2549). องค์ความรู้ภูมิปัญญาไทย. โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต สถาบันส่งเสริม วิสาหกิจชุมชน, กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคณะ. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism). กรุงเทพฯ: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).
องค์การบริหารส่วนตำบลวิเชตนคร. (2561). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565). (ระบบออนไลน์), แหล่งที่มา http://www.wichetnakorn.go.th/ ค้นหาเมื่อวันที่ 12/1/2562.
Crane, P. & O’Regan, M. (2010). On PAR Using Participatory Action Research to Improve Early Intervention.Department of Families, Housing Community Services and Indigenous Affairs, Australian Government.
McNulty, R. (2009). Creative Tourism. [online]. Available http://www.cturbonew.com/4539creative-tourism conference-defines-news. access on January 10, 2019.
Wurzburger, R. (2010). Creative Tourism A Global Conversation how to provide unique creative experiences for travelers worldwide. International Conference on Creative Tourism in Santa Fe. New Mexico. USA.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง