การวิเคราะห์สภาวะหนี้สินและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อหนี้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร ในเขตภาคเหนือ
คำสำคัญ:
หนี้สิน, สหกรณ์, สมาชิกสหกรณ์การเกษตรบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาวะหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร ที่กู้จากสหกรณ์การเกษตร ในเขตภาคเหนือ และ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อหนี้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคเหนือ ผู้ให้ข้อมูลหลักในการศึกษา คือ สมาชิกสหกรณ์การเกษตร ในเขตภาคเหนือจำนวน 404 ราย โดยแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมาน ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติทดสอบไคร์สแควร์
ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกสหกรณ์การเกษตรเป็นหนี้กับสหกรณ์การเกษตร จำนวน 10,001 – 50,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 24.0 รองลงมาเป็นหนี้กับสหกรณ์การเกษตร จำนวนเงินมากกว่า 200,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 21.3 เหตุผลอันดับแรก คือ กู้ยืมเงินจากสหกรณ์เพื่อใช้ในการเกษตร 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อหนี้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีจำนวน 16 ตัวแปร ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล 5 ตัวแปร ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ปัจจัยด้านสภาพเศรษฐกิจ 2 ตัวแปร ได้แก่ รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนต่อเดือน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของครัวเรือนต่อเดือน ปัจจัยด้านค่านิยม/ทัศนคติ 7 ตัวแปร ได้แก่ การรู้จักบริหาร การวางแผนจัดการเงิน (รับ-จ่าย) ทำให้การก่อหนี้ลดลง ความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนา เช่น ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า สร้างอุโบสถ มีผลต่อการก่อหนี้ หากรายได้ในอนาคตเพิ่มขึ้นจะใช้จ่ายในปัจจุบันเพิ่มขึ้น สินค้าเงินผ่อนมีแรงจูงใจให้ซื้อสินค้ามากยิ่งขึ้น การกู้ยืมเงินทำให้จับจ่ายใช้สอยได้ง่ายขึ้นตามที่ต้องการหรือในยามฉุกเฉิน ค่าครองชีพสูงขึ้นสินค้ามีราคาแพงมากขึ้นมีผลต่อการก่อหนี้ นโยบายการเมือง/รัฐบาล มีผลต่อการก่อหนี้ และปัจจัยด้านความจำเป็นในการบริโภค/อุปโภค 2 ตัวแปร ได้แก่ ความสะดวกสบายในชีวิต ความต้องการปัจจัยสี่ ดังนั้นภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรให้ความสำคัญกับปัจจัยดังกล่าวเพื่อนำไปวางแผนงานและกำหนดนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนเกษตรได้อย่างเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและบริบทของพื้นที่ โดยการให้ความรู้ในการวางแผนทางการเงิน และทัศนคติในการก่อหนี้ที่ถูกต้อง ให้แก่ สมาชิกสหกรณ์การเกษตร ในเขตภาคเหนือ
References
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2560). ผลการดำเนินงานสหกรณ์ ประจำปี 2560. [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.cad.go.th/ewtadmin/ewt/statistic/download/ sahakorn_60/Data60/in60/in_1_60.xlsx. สืบค้นเมื่อวันที่ 20/8/2562.
ชญานิศวร์ กุลรัตนมณีพร และคณะ (2555). การเสริมสร้างค่านิยม: การทบทวนองค์ความรู้และแนวทางการวิจัยด้านค่านิยมไทยในอนาคต. [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: http://research.culture.go.th/medias/sp108.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 30/1/2564.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2558). หนี้ครัวเรือนภาคเหนือ : ทางออกด้วยการให้ความรู้ทางการเงิน. [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/Northern/ DocLib_Article/หนี้สินครัวเรือนภาคเหนือ.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 20/7/2563
ปัณภ์ปวีณ รณรงค์นุรักษ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อหนี้สินของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ข้าว และ มันสำปะหลัง: กรณีศึกษาเกษตรกรในเขตพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี และเพชรบุรี. การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2558). โครงการศึกษาภาวะหนี้สินเกษตรกร และแนวทางการปรับปรุงศักยภาพการดําเนินงานกองทุนในกํากับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://tdri.or.th/wp-content/uploads/ 2019/05/ภาวะหนี้สินเกษตรกรFinal-Report.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 8/4/2563.
วิทยา เจียรพันธุ์. (2553). หนี้สินเกษตรกรไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์. (2561). จุลทรรศน์ภาคเกษตรไทยผ่านข้อมูลทะเบียนเกษตรกรและสำมะโนเกษตร. [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.pier.or.th/wp-content/uploads/2018/05/aBRIDGEd_2018_009.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 20/8/2562.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรายได้ รายจ่ายการออมหนี้สิน ปัจจัยที่ กำหนดการตัดสินใจก่อหนี้และความต้องการกู้ของครัวเรือนเกษตร. [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.oae.go.th/view/1/การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพล/TH-TH. สืบค้นเมื่อวันที่ 20/8/2562.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). หนี้สินของครัวเรือนเกษตร พ.ศ.2560. [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/pubs/e-book/House_debt_2560/ files/assets/basic-html/index.html#1. สืบค้นเมื่อวันที่ 8/4/2563.
สุกานดา กลิ่นขจร และนรรัฐ รื่นกวี. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาระหนี้สินของเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา กรณีศึกษาอำเภอด่านขุนทด และอำเภอโนนสูง. นครราชสีมา: ศูนย์กลางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง