การใช้กิจกรรมประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมทักษะสมองส่วนหน้าสำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • อรทัย ชัยแปง
  • ชไมมน ศรีสุรักษ์

คำสำคัญ:

กิจกรรมประกอบอาหาร, ทักษะสมองส่วนหน้า, เด็กปฐมวัย, ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21, ทักษะEF

บทคัดย่อ

          กิจกรรมการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นกิจกรรมที่เชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะสมองส่วนหน้าสำหรับเด็กปฐมวัย สามารถพัฒนาทักษะ EF หรือ Executive Function ผ่านกระบวนเรียนรู้จากการสังเกต ทดลอง สัมผัส และลงมือปฏิบัติจริง ทำให้เด็กเกิดการพัฒนา อย่างเป็นองค์รวม โดยกิจกรรมการประกอบอาหารสามารถพัฒนาเด็กได้ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย พัฒนา กล้ามเนื้อมัดเล็กในการหยิบจับสิ่งต่าง ๆ ด้านอารมณ์ จิตใจ ทำให้มีความสุขกับสิ่งที่ทำ ด้านสังคม เกิดการยอมรับ ฟังความคิดเห็นของผู้อื่นจากการวางแผน การทำกิจกรรม และด้านสติปัญญา เกิดความคิดรวบยอดและแก้ไข ปัญหาตามสถานการณ์ พัฒนาการแต่ละด้านที่กล่าวมานั้นสามารถพัฒนาได้ดีที่สุดในช่วงอายุ 3 - 6 ปี เป็นช่วง ที่เด็กพร้อมจะเรียนรู้มากที่สุดจากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว ทำให้เด็กคิดเป็น วางแผนเป็น และแก้ปัญหาได้เหมาะสม ตามวัยจากสถานการณ์จริง ทั้งนี้การพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้าสำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อชีวิตสำเร็จนั้น ในแต่ละ กระบวนการของกิจกรรมประกอบอาหารล้วนมีนัยสำคัญที่ส่งเสริมทักษะ EF อยู่ในทุกขั้นตอนของการทำกิจกรรม เด็กจะได้รับการพัฒนาทักษะ EF ทั้ง 9 ด้านอย่างครบถ้วน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สร้างภูมิคุ้มกันทางความคิดและการใช้ชีวิตที่สำเร็จทำให้เด็กมีความสุขอยู่ในสังคมที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ซึ่งผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21 จะต้องมีการพัฒนาทางด้านทักษะที่เรียกว่า 3R8C และ 2LS ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในอนาคต

References

สุนิสา สีมาวงษ์ และชลาธิป สมาหิโต. (2562). ผลการจัดกิจกรรมประกอบอาหารที่มีต่อความคิด สร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย, วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, มกราคม-เมษายน 2562, หน้า 176-177

สุภาวดี หาญเมธี. (2560). ทักษะสมองเพื่อจัดการชีวิตให้สำเร็จ, สถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป), พฤษภาคม 2560, หน้า 1-14

สุภาวดี หาญเมธี, ธิดา พิทักษ์สินสุข และภาวนา อร่ามฤทธ. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย, พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: บริษัท รักลูกกรุ๊ป จำกัด.

จุฬินฑิพา นพคุณ. (2561). การพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยผ่านการสอนแบบมอนเตสซอรี่, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, มกราคม-มิถุนายน 2561, หน้า 75-90

เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว. (2554). ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี, นิตยสาร สสวท, ปีที่ 40 ฉบับที่ 174, หน้า 32-35

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2021