การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน ของนักเรียนโรงเรียนนางัวราษฎร์รังสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22

ผู้แต่ง

  • ปาณิสรา ตะนุมงคล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, หลักสูตรฝึกอบรม, การตั้งครรภ์ในวัยเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน และ 2) ประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม โดย 1) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการฝึกอบรม และ 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจหลังการฝึกอบรม การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ 1) การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม 2) การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม 3) การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม และ 4) การปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบทีชนิดกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน

          ผลการวิจัย พบว่า

  1. หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 2) เนื้อหาของหลักสูตร 3) กิจกรรมการฝึกอบรมของหลักสูตร และ 4) การวัดและประเมินผลหลักสูตร
  2. ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน พบว่า 1) ความรู้ความเข้าใจหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) ความพึงพอใจต่อการอบรมโดยใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด

 

 

References

กรมอนามัย. (2562). สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ ในวัยรุ่นและเยาวชน ปี 2562. นนทบุรี: สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์.

ทวีป อภิสิทธิ์. (2551). เทคนิคการเป็นวิทยากรและนักฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ และคณะ. (2556). แม่วัยใส : สถานการณ์และบริบทในสังคมไทย. โครงการสำรวจและศึกษาเพื่อเฝ้าระวังและเตือนภัย ทางสังคมรอบที่ 1 (มิถุนายน-สิงหาคม 2556). กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. ราชกิจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนที่ 30 ก. หน้า 1-10. 31 มีนาคม 2559.

ยุภาพร แสนหาญ. (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมวัยใสเข้าใจเพศศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

รุ่งรัตน์ ธาราพงษ์ และคณะ. (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เพศวิถีไทยของนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดชลบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, (32)1, 104-117.

วรรณมาส สืบโถพงษ์. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อปรับลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญา ค.ม. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ศรีเพ็ญ ตันติเวส และคณะ (2556). สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทย 2556. นนทบุรี: Studio Dialogue.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการศรษฐกิจและสังคมเแห่งชาติ. (2556). แผนกลยุทธ์ประจำปี 2556-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย. (2556). แม่วัยใส ความท้าทายการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: แอดวานส์ปริ้นติ้ง.

อัครพงศ์ สุขมาตย์. (2553). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษา. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Hunchangsith, P. and Thianlai, K. (2015). Risk Behaviors of HIV Infection and Factors Associatedwith Condom Use AmongTeenagers. Journal of Public Health, vol. 45 (3), pp. 272-284.

Mary Ogechi Esere (2008). Effect of Sex Education Programme on at-risk sexual behaviour of school-going adolescents in Ilorin, Nigeria, Afr Health Sci. 8(2), 120-125.

Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt Brace and world.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-09-2021