การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และกลยุทธ์อภิปัญญาเพื่อพัฒนามโนมติของผู้เรียนเกี่ยวกับไฟฟ้า

ผู้แต่ง

  • พรรณิภา ยงธนสารกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การสืบเสาะหาความรู้, กลยุทธ์อภิปัญญา, มโนมติเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามโนมติเกี่ยวกับไฟฟ้าของผู้เรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และใช้กลยุทธ์อภิปัญญา กลุ่มเป้าหมายครั้งนี้ ได้แก่ ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเถินวิทยา จังหวัดลำปาง จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การสอนแบบสืบเสาะความรู้และใช้กลยุทธ์อภิปัญญา และ 2) แบบวัดมโนมติเกี่ยวกับไฟฟ้า จำนวน 30 ข้อ ซึ่งวัดมโนมติของผู้เรียนเกี่ยวกับ (1) วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย (2) ความสัมพันธ์ของความต่างศักย์กับกระแสไฟฟ้าในวงจรอย่างง่าย (3) วงจรไฟฟ้าในบ้าน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (Class Average Normalized Gain <g>) จากผลการวิจัยพบว่า มีค่า <g> เท่ากับ 0.46 แสดงว่า ในภาพรวมมโนมติไฟฟ้าของผู้เรียนถูกต้องเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับปานกลาง

References

ชุติปภา วรเดชนันทสกุล และคณะ. (2561). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก. [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา : https://backend.ubn1.go.th/uploads/ files/supervisor/Download/active_learning.pdf. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2563.

ดวงหทัย กาศวิบูลย์. (2561). การส่งเสริมอภิปัญญาของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่สาขาสังคมศาสตร์ (ระยะที่ 1): การประเมินอภิปัญญา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: เชียงใหม่.

พจนา ทรัพย์สมาน. (2559). การจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (ฉบับสมบูรณ์). [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa/reports/. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2563.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2559). การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning, การอบรม โครงการจัดการความรู้ (Knowledge Management), คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.

สมประสงค์ เสนารัตน และคณะ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาครู. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. ปีที่ 16 ฉบับที่ 75 ตุลาคม – ธันวาคม 2562.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริม การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา http://academic.obec.go.th/ images/ document/ 1603180137_d_1.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2563.

สิโรตม์ บุญเลิศ. (2559). ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 5E ร่วมกับกลวิธีการสะท้อนอภิปัญญาที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมโนมติวิทยาศาสตร์และอภิปัญญาของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ไอนิง เจ๊ะเหลาะ และคณะ. (2558). การศึกษามโนมติที่คลาดเคลื่อน เรื่อง แรง และกฎการเคลื่อนที่ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. วารสารนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2563.

อัสมา มือลี. (2559). ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยกลยุทธ์ทางอภิปัญญาและปัญหาปลายเปิดที่มีต่อความสามารถในการใช้กลยุทธ์อภิปัญญาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Beyer, B. K. (1987). Practical strategies for the teaching of thinking. Boston: Allyn & Bacon.

Engelhardta, P. V., and Beichner, R. J. (2004). Students’ understanding of direct current resistive electrical circuits. American Journal of Physics. 72(1): 98–115.

National Research Council (NRC). (2000). Science Teaching Reconsidered: A Handbook. Washington, DC: The National Academies Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2022