ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อประกันสุขภาพของประชาชนในเขตจังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ศิริขวัญ วาวแวว กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • นภาวรรณ เนตรประดิษฐ์

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาดบริการ, ความไว้วางใจ, ภาพลักษณ์องค์การ, การตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพ

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ความไว้วางใจ ภาพลักษณ์องค์การ และการตัดสินใจเลือกซื้อประกันสุขภาพของประชาชนในเขตจังหวัดลำปาง และ 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ความไว้วางใจ ภาพลักษณ์องค์การที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อประกันสุขภาพของประชาชนในเขตจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในจังหวัดลำปางที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป และยังไม่มีกรมธรรม์ประกันสุขภาพ จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยวิธี Enter

          ผลศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยด้านการตัดสินใจเลือกซื้อประกันสุขภาพมีระดับความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ความไว้วางใจ และภาพลักษณ์องค์การมีระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก 2) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยวิธี Enter พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ความไว้วางใจ และภาพลักษณ์องค์การส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อประกันสุขภาพของประชาชนในเขตจังหวัดลำปาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กรมควบคุมโรค. (2563). สถานการณ์ภาพรวมทั่วโลก. [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://ddc.moph.go.th. สืบค้นเมื่อวันที่ 20/4/2563.

กรณัฏฐ์ นรทีทาน. (2559). การศึกษาคุณค่าตราสินค้าและความไว้วางใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ ซื้อประกันชีวิตผ่านธนาคารพาณิชย์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กาญจนาภรณ์ บุญเกิด. (2558). การรับรู้ภาพลักษณ์องค์กร (ด้านการดำเนินธุรกิจ ด้านผู้บริหาร ด้านพนักงานและด้านความรับผิดชอบต่อสังคม) และส่วนประสมทางการตลาดมีอิทธิพล ต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิต กรณีศึกษา บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ในเขตจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จิราภรณ์ สีขาว. (2560). ภาพลักษณ์องค์กร. [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.thaihotelbusiness.com /articles. สืบค้นเมื่อวันที่ 12/3/2563.

ณัฎฐ์ภูอิสร์ ศรีเพชร. (2558). แนวทางการสร้างความไว้วางใจของลูกค้าในธุรกิจประกันชีวิตใน ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ประสิทธิ์ รัตนพันธ์ และคณะ. (2562). การรับรู้ภาพลักษณ์ธุรกิจประกันชีวิตของผู้บริโภค ในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

พงศ์ธร รุ่งศุภกิจ. (2558). การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการเลือกซื้อ และปัจจัยส่วนประสม ทางการตลาดบริการ 7Ps ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิต AIA ผ่านระบบ iPos+ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พสุ เดชะรินทร์. (2547). Balanced Scorecard รู้ลึกในการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วราพร วิไลเลิศ และอิทธิกร ขำเดช. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพของ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต.

วิไล อักขระสมชีพ. (2563). ส่องเทรนด์ประกันสุขภาพ โอกาสทองคนไทยเข้าถึงการรักษาดีขึ้น. [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.businesstoday.co/money-to-know. สืบค้นเมื่อวันที่ 5/3/2563.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). เบี้ยรับใหม่ปี พ.ศ.2563 หดตัวธุรกิจประกันเร่งปรับลดทุนประกัน แผนหลักเพิ่มทุนประกันสุขภาพ. [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.efinancethai.com. สืบค้นเมื่อวันที่ 15/5/2563.

สมคิด บางโม. (2558). องค์การและการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) (2563). ความรู้เกี่ยวกับการประกันภัย. [ราบบออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.oic.or.th/en/education/insurance/about/history. สืบค้นเมื่อวันที่ 10/2/2563.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) (2563). คปภ. เดินหน้ามาตรการฉ้อฉลประกันภัย. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: https://www.prachachat.net/breaking-news/news-507927. สืบค้นเมื่อวันที่ 10/2/2563.

อิสยาภรณ์ กุลอภิภัสร์เดชา. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำประกันสุขภาพตามหลัก พุทธธรรมของพระสงฆ์ ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.

Brenan, R. L., (1972). A generalized upper – lower item discrimination index. Education and Psychological Measurement, pp. 289-303.

Lee, Chang F., John C. Lee and Alice C. (2000). Statistics for Business and Financial Economics. (2nd ed). Singapore: World Scientific, pp.704.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2021